ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของผู้นำนักบริหารในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย

Main Article Content

บุนยธร แคล้วกลาง

Abstract

การศึกษาเรื่อง ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลของผู้นำนักบริหารในพื้นที่ชายฝั่งทะเลด้าน อ่าวไทยตอนบนของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์หลักของงานวิจัย 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษายุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลแบบบูรณาการ 2) เพื่อศึกษาคุณลักษณะของผู้นำและภาวะผู้นำ ในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบ (Model) ของยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ที่สอดคล้องและเหมาะสมกับสภาวะการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยมีพื้นที่นำร่องในการศึกษาครั้งนี้ คือ กรุงเทพมหานคร และ จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งเป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรงลำดับต้น ๆ ของประเทศ ตั้งอยู่ในส่วนของอ่าวไทยตอนบน ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณมาใช้ในการศึกษา โดยผลการวิจัยพบว่า ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลที่เหมาะสม ควร เป็นยุทธศาสตร์แบบบูรณาการ ระหว่างระบบฐานข้อมูลที่เชื่อถือได้ ข้อมูลทันสมัยที่สามารถประมวลผลกระทบในรูปแบบต่างๆได้ โดยการระดมความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเป็นพลังในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ซึ่งทำให้การตัดสินใจใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการแก้ปัญหา เหมาะสมกับพื้นที่ ไม่มีผลกระทบต่อธรรมชาติ ระบบนิเวศรวมถึงวิถีชีวิตของชุมชน โดยผู้นำและภาวะผู้นำในการแก้ปัญหาการกัดเซาะนั้นจะต้องเป็นผู้นำที่สามารถบูรณาการชายฝั่งในทุกมิติ สามารถนำภูมิปัญญาชาวบ้านมาผนวกเข้ากับหลักวิชาการสู่เป้าหมายของการแก้ปัญหา มีเอกภาพในการตัดสินใจภายใต้ภายในประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตัวหรือพรรคพวก ดังนั้นเมื่อนำทั้งยุทธศาสตร์และคุณลักษณะผู้นำมาสร้างแบบจำลองของงานวิจัยนี้ สามารถสรุปได้ดังนี้ จาก “ผู้ปกป้องชายฝั่งทะเลแนวภูมิปัญญาท้องถิ่น” สู่ “อัศวินผู้พิทักษ์ชายหาดแนวชุมชนเชิงปัญญาควบกลไกไฮเทค”

 

The Coastal Erosion Prevention Strategy of the Executive Leaders in the Coastal Areas of the Upper Gulf of Thailand in 2013

The objectives of the study on the Coastal Erosion Prevention Strategy of the Executive Leaders in the Coastal Areas of the Upper Gulf of Thailand were as follows: 1) to identify the coastal erosion prevention strategy to sustain the stability of Natural Resources and Environmental Service Areas of Bangkok and Samut Prakan Province, 2) to analyze the concept and opinion on the leadership and on the strategy for the coastal erosion prevention service areas of Bangkok and Samut Prakan Province, and 3) to present the sustainable model on the coastal erosion prevention strategy of the provincial executives and local leaders as suitable for future world climate change. The study employed both the qualitative and quantitative research methodologies. The findings revealed that with regard to the erosion prevention strategy relating to the coastal areas in the upper gulf of Thailand, the executive leaders, both at the national and local levels, the performances, in the past and up to the present, in conducting the coastal erosion prevention strategy had profoundly shown the lack of visionary leadership, managerial inefficiency, low technical knowhow, bureaucratic red-tape, narrow-minded in terms of civic participation and unfriendly malpractices in dealing with the community stakeholders. Therefore, the “Proposed Model” of this dissertation can be summed up as the following: from “the Local Ingenuity Coastal Protectors” to “the Community-Wise Hi-Technological Mechanization Beach Champions.”

Article Details

Section
Article