การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริม เครือข่ายกิจกรรมการท่องเที่ยว ของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด

Main Article Content

ทินกฤต รุ่งเมือง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของการดำเนินการและความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทวารวดี 4จังหวัด 2) เพื่อสร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมเครือข่ายกิจกรรมการท่องเที่ยว ของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด 3) เพื่อทดลองรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมเครือข่ายกิจกรรมการท่องเที่ยว ของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด 4) เพื่อประเมินและปรับปรุงรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด เพื่อส่งเสริมเครือข่ายกิจกรรมการท่องเที่ยว กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติในกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด จำนวน 384 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยได้แก่ แบบสังเคราะห์เอกสารแนวทางการสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพของการดำเนินการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติเห็นว่าการมีส่วนร่วมของชุมชน ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว การเรียนรู้และกิจกรรม อยู่ในระดับมากและความต้องการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติต้องการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 57.59 แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ประเพณี คิดเป็นร้อยละ 18.85 และแหล่งท่องเที่ยวด้านวิถีชีวิตท้องถิ่น คิดเป็นร้อยละ 13.09 ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ได้รูปแบบมีชื่อเรียกว่า “KRNS-NONGKHAO Model” 3) ผลการทดลองรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ตามโครงสร้างเพื่อความสมดุลตามหลักธรรมาภิบาล ทำให้สมาชิกทราบถึงแนวทางการกระจายรายได้ การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง มีการจัดกิจกรรมที่สะท้อนถึง ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ของความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว อยู่ในระดับมาก 4 ) การประเมินและปรับปรุงรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ และมีความคิดเห็นของผู้ที่เกี่ยวข้อง อยู่ในระดับมาก และถอดบทเรียนพบว่า ความสำเร็จของการดำเนินกิจกรรม มีการดำเนินการกิจกรรมการท่องเที่ยวและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้เพื่อการประชาสัมพันธ์ชุมชน ผู้บริหารในชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนเชื่อมโยงเครือข่ายการท่องเที่ยวภายใน และภายนอกชุมชน เน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ระดับชุมชนและหน่วยงานภาครัฐ

 

The Model Development of Creative Tourism in order to Enhance the Network of Tourism Activities of DVARAVATI Four Provinces

This research aimed to 1) study the operation and demand for creative tourism of 4-province DVARAVATI, 2) create model of creative tourism in order to promote the network of tourism activities of 4-province DVARAVATI, 3) test model of creative tourism in order to promote the network of tourism activities of 4-province DVARAVATI, 4) evaluate and improve model of creative tourist of 4-province DVARAVATI in order to encourage the network of tourism activities of 4-province DVARAVATI. The samples for the research were 384 tourists both Thai and foreigners of 4-province DVARAVATI. The tools used in data collection were synthetic model of document, SWOT Analysis, focus group discussion, and questionnaire. The statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis.

The results of the research were: 1) in respect of the creative tourism operation of DVARAVATI, Thai and foreign respondents were of the opinion that participation of the community, potentiality of tourism, learning, and activities were of a high level, and in respect of the demand for the creative tourism, Thai and foreign respondents needed natural tourism of the highest level, representing 57.59%; cultural and traditional tourism, representing 18.85%; and local attractions tourism, representing 13.09%, respectively; 2) the development for creative tourism model was the “KRNS-NONGKHAO Model” 3) the success factors for the model of creative tourism were the model of creative tourism management in accordance with the structure of a balance of good governance, participative networks in the levels of province and community; 4) the evaluation and improvement of creative tourism model of the respondents was at high level. In addition, the overall opinion of those involved with the model of creative tourism so as to promote the tourism activity network of 4-province DVARAVATI was at high level. It was also found that the success of the network of tourism activities relied on the use of information technology for public relations in the communities, the supports of the community administrators and concerning public offices for the tourism networks of inside and outside communities, and the participatory process at the community and the public sector levels.

Article Details

Section
Article