แนวทางการพัฒนาการให้บริการผู้พิการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

Main Article Content

ไพรทูล เนตรพันทัง
ธีระ ฤทธิรอด

Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานการให้บริการผู้พิการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง 2) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการให้บริการผู้พิการ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการให้บริการผู้พิการ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ กลุ่มที่ 1 นักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มที่ 2 กลุ่มผู้รับบริการ และกลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้ปฏิบัติงาน โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ แบบสัมภาษณ์และประเด็นในการสนทนากลุ่ม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และนำเสนอผลการศึกษาโดยใช้วิธีอรรถาธิบายและพรรณนาความ

ผลการศึกษา พบว่า การดำเนินงานการให้บริการผู้พิการขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนกลาง มีดังนี้ ด้านบุคลากร ยังไม่มีเจ้าหน้าที่ที่ให้การบริการช่วยเหลือผู้พิการโดยเฉพาะ แต่แต่งตั้งเจ้าหน้าที่รับผิดชอบจากตำแหน่งงานอื่น ซึ่งยังไม่มีความรู้ความสามารถในการให้บริการ ทำให้การบริการไม่ทั่วถึง และควรส่งเจ้าหน้าที่เข้ารับการฝึกอบรมการให้บริการผู้พิการอย่างต่อเนื่อง ด้านงบประมาณ เนื่องจากงบประมาณที่จัดสรรให้ผู้พิการมีเพียงเบี้ยยังชีพรายเดือน ซึ่งไม่เพียงพอต่อการใช้จ่ายประจำวันของผู้พิการ จึงควรจัดสรรงบประมาณด้านอื่นในการช่วยเหลือผู้พิการ และขอรับการอุดหนุนจากหน่วยงานอื่น ด้านวัสดุอุปกรณ์ ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้พิการ จึงควรสำรวจความต้องการของผู้พิการให้ครบถ้วน เพื่อสรรหาวัสดุอุปกรณ์ให้เพียงพอต่อความต้องการและจัดหาสถานที่เก็บที่เหมาะสม สะอาดปลอดภัย และมีเจ้าหน้าที่คอยให้คำแนะนำในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ ด้านการบริหารจัดการ เนื่องจากผู้บริหารท้องถิ่นยัง ไม่มีนโยบายในการให้บริการผู้พิการ จึงควรกำหนดนโยบายการให้บริการผู้พิการ รวมทั้งการจัดตั้งกองทุนการจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพให้กับผู้พิการเพื่อให้มีรายได้เสริม

 

Development Guidelines of Provided Care for the Disabled of Non-klang Tambon Administrative Organization, Phiboon Mangsahan Districts, Ubon Ratchathani Province

This research was a descriptive research which aimed to 1) describe the service process for people with disability (PD) of Non-klang Sub-District Administrative Organization (NK-TAO), 2) analyze the problems and causes of these services process, and 3) propose solutions and development guidelines. In-depth interviews were used in this study with 3 key informant groups of 29 people, group I a group of TAO administrators, group II people with disability and group III was a group of involved officers. The data was analyzed and descriptive analysis was also used.

The results showed that the operation in serving the needs of PD were lacking of expert staffs to provide support services for PD, insufficient budget for PD services, inadequacy of special tools and materials for PD, and strong policy and management for PD. From this study, NK-TAO should set the policy and budget with supplement activities for PD in order to support those PD to survive by themselves.

Article Details

Section
Article