พฤติกรรมการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บุญอยู่ ขอพรประเสริฐ

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ ประโยชน์ที่ได้รับ และผลกระทบจากการใช้เฟสบุ๊ค (Facebook) ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 10 แห่งรวม 700 ตัวอย่าง ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 60.3 มีอายุระหว่าง 18-19 ปีร้อยละ 37.4 ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยสะสม ระหว่าง 2.51-3.00 ทั้งนี้ กล่มุ ตัวอย่างร้อยละ 70.1 ใช้เฟสบุ๊คทุกวัน โดยใช้มากกว่า 2 ชั่วโมงต่อครั้ง มักใช้เมื่อมีเวลาว่าง และนิยมใช้ผ่านอุปกรณ์มือถือร้อยละ 67.6 ในด้านรูปแบบการใช้พบว่า ใช้สนทนา (Chat) กับเพื่อน และใช้เขียนแสดงความยินดีกับเพื่อนในโอกาสต่างๆ อยู่ในระดับบ่อยมาก มีค่าคะแนนเฉลี่ย 3.51 และ 3.36 ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 5) ส่วนการกด Like เอาใจเพื่อน การอัพโหลด (Up Load) ภาพต่างๆ ในชีวิตประจำวัน การโพสต์ข้อความ เล่าเรื่องต่างๆ การติดตามข่าวประจำวัน การติดต่อสื่อสารกับเพื่อนเก่า การแสดงความคิดเห็นต่อเหตุการณ์ต่างๆ (Comment) และการสร้างอัลบั้มรูปมีการใช้อยู่ในระดับบ่อย ด้านประโยชน์ทีได้รับมากที่สุดได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นปัจจุบัน มีคะแนนเฉลี่ย 4.16 และผลกระทบที่เคยเกิดขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างจากการเล่นเฟสบุ๊คมากที่สุด 3 ลำดับแรก ได้แก่ การทะเลาะหรือโต้เถียงหรือขัดแย้งกับแฟน/คนรัก การทะเลาะหรือโต้เถียงหรือขัดแย้งกับเพื่อน และผลการเรียนลดลงหรือแย่ลง โดยมีคะแนนเฉลี่ย 1.66 1.59 และ1.46 ตามลำดับ (จากคะแนนเต็ม 3)ในด้านการเรียนพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 42.1 เคยได้รับผลกระทบทำให้ผลการเรียนลดลงในระดับเป็นบางครั้งจนถึงบ่อยครั้ง ร้อยละ 36.2 เคยส่งการบ้านไม่ทัน ร้อยละ 28.0 เคยโดนครู/อาจารย์ว่ากล่าวเพราะเล่นเฟสบุ๊คในห้องเรียน นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.7 เคยได้รับอุบัติเหตุทางร่างกายเช่น การเดินชนกับคนอื่นๆ หรือหกล้มเพราะมัวแต่เล่นเฟสบุ๊ค

 

The Behavior and Impacts of Using Facebook of University Students in Bangkok

The objectives of this research were to study the benefits, behavior, and impacts of using Facebook of university students in Bangkok. The data were collected from ten different private and public universities amounting to seven hundred samples. The results showed that the majority of the respondents were female (60.3%) at the age of 18-19 years old (37.4%), with the average grade point average (G.P.A) of 2.51–3.01. Overall, 70.1% of the respondents used Facebook every day. The majority of them used Facebook for up to two hours, preferably through mobile phones (67.6%) in their spare time. It was also found that the purposes of using Facebook at a very high frequency were online chats with friends and congratulating friends on multiple occasions with an average score of 3.51 and 3.36 respectively (out of the total score of 5). Additionally, the use of the like button to impress friends, updating personal status, updating news, contacting old friends, commenting and creating photo albums, these activities were found at a high frequency of use. The highest benefit that the majority of the respondents received from using Facebook was receiving up-to-date information with an average score of 4.16. In terms of the impacts of using Facebook, the majority of the respondents stated that these were: arguments, fights or disagreements with boyfriend/ girlfriend; arguments and disagreements with friends; and lowering their academic performance to the average score of 1.66, 1.59 and 1.46 (the maximum score of 3). The results also showed that up to 42.1% of the respondents were affected in terms of academic performance at the level of sometimes up to often. Besides, 36.2% of the respondents were unable to submit assignments in time and 28% of the respondents were scolded for using Facebook in class. Moreover, up to 23.7% of the respondents got physical injury from accidents such as bumping into other people or falling over from using Facebook.

Article Details

Section
Article