การรับรู้และทัศนคติต่อแฟนเพจของผู้ใช้บริการ

Main Article Content

ลัลน์ณอร รัตนคงสวัสดิ์

Abstract

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้เกี่ยวกับแฟนเพจของผู้ใช้บริการ (2) เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ใช้บริการที่มีต่อแฟนเพจ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของผู้ใช้บริการแฟนเพจ กับทัศนคติที่มีต่อแฟนเพจ (4) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และทัศนคติที่มีต่อแฟนเพจของผู้ใช้บริการ จำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างคือผู้ใช้บริการเฟซบุ๊ค ที่ได้เข้าเป็นสมาชิกกับแฟนเพจ จำนวน 400 คน ซึ่งผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และทดสอบหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร โดยการทดสอบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) โดยผลการวิจัยพบว่า (1) ด้านข้อความการสื่อสาร มีการรับรู้ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ผู้ใช้บริการแฟนเพจมีการรับรู้ในเรื่องความสม่ำเสมอในการนำเสนอข้อมูลของแฟนเพจ อีกทั้งยังรับรู้ว่าข้อมูลเหล่านั้นที่ถูกนำมาเสนอมีความน่าเชื่อถือ และเป็นข้อมูลที่ตรงตามความต้องการ (2) ด้านการออกแบบมีทัศนคติในระดับมาก โดยในรายข้อพบว่าระดับทัศนคติที่มากที่สุด คือ อัลบั้มของรูปภาพในแฟนเพจควรมีการแบ่งหมวดหมู่ที่ชัดเจน รูปภาพของโปรไฟล์ควรมองเห็นได้ชัดเจน และรูปภาพที่นำมาใช้ควรมีความเกี่ยวข้องสอดคล้องกับรูปแบบเนื้อหาของแฟนเพจ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ของผู้ใช้บริการกับทัศนคติ พบว่าการรับรู้ของผู้ใช้บริการแฟนเพจ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติของผู้ใช้บริการแฟนเพจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ส่วนเพศ ไม่มีผลต่อด้านการรับรู้ต่อแฟนเพจ คือเพศที่แตกต่างกันมีการรับรู้ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่ระดับการศึกษาที่ต่างกันมีทัศนคติไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กล่าวได้ว่า ระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีผลต่อด้านทัศนคติไม่แตกต่างกัน

 

Fanpage Perception and Attitude of Fanpage Users

The objectives of this study are to 1) analyze the perception of the fan page users; 2) analyze the attitude of fan page users; 3) analyze the relationship between the perception of fan page users and their attitudes; 4) compare the perception and attitude towards fan pages among users of different demographic background. This study categorizes the samples according to the demographic distribution. The samples are 400 Facebook users who are the members of fan pages. The researcher uses purposive methodology with a set of questionnaire as a research tool. The statistics used are percentage, standard deviation, t-test and the analysis of variance (ANOVA). The relationship between variables is tested by the Pearson Product Moment Correlation Method. The result show that 1) the respondents’ s perception is high in terms of communication aspect, and when considering each sactor, it is found that the respondents perceived the regularity of the information provided by the fan pages and also perceived that the information presented is accurate and meet the demand. 2) The respondents’ attitude is at high level in terms of design, and the items received the highest score is the clear categorization of pictures on the fan page, the easily visible display picture, and the pictures are related to the content of the fan page. 3) The respondents’ perception of fan page is related to the attitude of fan page users at 0.05 statistical significant level. 4) Gender does not relate to the perception of fan page users as different gender does not show statistically different in perception at 0.05 statistical significant level. The respondents of different education levels also does not show statistically different perception.

Article Details

Section
Article