ความสำนึกรับผิดชอบ กับการจัดการสาธารณะ; Accountability and Public Administration

Main Article Content

สมศักดิ์ สามัคคีธรรม

Abstract

“ความสำนึกรับผิดชอบ” เป็นแนวคิดทางวิชาการที่มีความหมายกว้าง ซับซ้อน และคลุมเครือ แต่ “ความสำนึกรับผิดชอบ” เป็นแนวคิดที่สำคัญ และเป็นองค์ประกอบหนึ่งของหลักธรรมาภิบาล ซึ่งมีความสัมพันธ์กับความโปร่งใส หลักนิติธรรม การมีส่วนร่วมสาธารณะ และการขัดกันในผลประโยชน์ ความสำนึกรับผิดชอบมีหลายประเภท และแต่ละประเภทต่างสอดคล้องกับลักษณะขององค์การที่แตกต่างกัน ในยุคโลกาภิวัตน์ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบอบการจัดการงานสาธารณะแบบดั้งเดิม ไปสู่การจัดการภาครัฐแนวใหม่ และการจัดการภาคีสาธารณะแนวใหม่ ตามลำดับ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับความสำนึกรับผิดชอบขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อันส่งผลให้การศึกษาเรื่องนี้ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวาง

Accountability is an academic concept, whose meanings are broad, complex and unclear. However, the concept of accountability is important, and it is one of the components of good governance. It relates to transparency, rule of law, public participation, and conflict of interests. There are various types of accountability, and each type is in line with specific characteristics of organizations. In the globalization era, the regime of traditional public administration has been changed into new public management and new public governance respectively. The new regimes caused the problems of accountability unavoidably – leading to the study about the accountability and new public administration and new public governance extensively.   

Article Details

Section
บทความวิชาการ