ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ; Factors Related to Self-Care Behaviors of Pregnant Women at Bangna 5 Hospital, Samutprakarn Province

Main Article Content

กวินฑรา ปรีสงค์

Abstract

การศึกษาการวิจัยเชิงสำรวจเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ จำนวน 205 คน รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือการวิจัยอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า หญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ มีพฤติกรรมการดูแลตนเอง อยู่ในระดับควรปรับปรุง ร้อยละ 38.0 ปัจจัยชีวสังคม ได้แก่ อาชีพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยนำ ได้แก่ เจตคติต่อพฤติกรรมการดูแลตนเอง การรับรู้ประโยชน์ของพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการรับรู้อุปสรรคของพฤติกรรมการดูแลตนเอง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ นโยบายส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข  มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมและการได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objective of this study was to examine factors related to the self-care behavior of pregnant women at Bangna 5 Hospital, Samutprakarn Province. Two hundred and five pregnant women at Bangna 5 Hospital, Samutprakarn Province were selected by accidental sampling method.  The questionnaire was used constructed by the researcher and was tested for its quality of which the result were accepted.  The data received were analyzed for percentage, mean, standard deviation, Chi-square, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. 

The major findings were as follows: the self-care behaviors of the majority of the respondents were at need improvement level at 38.0%.  The personal factor which was the occupation of the respondents was significantly related to their self-care at the statistical significance of 0.05.  The predisposing factors or the respondents’ attitude toward self-care behaviors, perceiving benefits and obstacles of self-care were significantly related at the statistical significance of 0.05.  In addition, the enabling factors which included the policies for supporting self-care behavior of the pregnant and the access to the public health care service were related at the statistical significance of 0.05.  Finally, the reinforcing factors which included social support from their intimate persons and the access to the information from different sources of media were related to their self-care behaviors at the statistical significance of 0.05.

Article Details

Section
บทความวิจัย