การจัดการความรู้ด้านสาธารณสุขเพื่อออกฝึกภาคสนามของนักศึกษาสาธารณสุขศาสตร์; Knowledge Management of Field Training for Public Health Professionals of Public Health Students

Main Article Content

วันวิสาข์ ศรีสุเมธชัย

Abstract

การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จ หรือการฝึกภาคสนามนั้น เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการเรียนการสอนของคณะสาธารณสุขศาสตร์ การฝึกปฏิบัติงานพัฒนาอนามัยชนบทเบ็ดเสร็จเป็นหลักในการทำงานกับกลุ่มประชากรในพื้นที่ ซึ่งความรู้ทางเทคนิคเพียงอย่างเดียวยังไม่เพียงพอที่จะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกยุคโลกาภิวัตน์ที่ต้องรวดเร็วเพื่อให้ทันกับสถานการณ์สุขภาพของประชาชนที่มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะระดับของการเปลี่ยนแปลงและความซับซ้อนของสถานการณ์สุขภาพในประเทศไทยในการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community หรือ AEC) ซึ่งจะต้องสัมพันธ์กับตัวชี้วัดสุขภาพอาเชียนที่สะท้อนสถานการณ์ ทิศทางรวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทางสุขภาพของประชากรในภูมิภาค พฤติกรรมทางสุขภาพที่สำคัญ ปัจจัยกำหนดสุขภาพที่เป็นทั้งโอกาสและความท้าทายในหลากหลายมิติ จำเป็นจะต้องนำเทคโนโลยีสำเร็จรูปที่มีอยู่เพื่อนำไปประยุกต์ใช้โดยตรงและใช้กับบริบทที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ระดับการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์สุขภาพในประเทศไทยบางส่วนจึงยังไม่สอดคล้องกับระดับการเปลี่ยนแปลงในส่วนต่างๆ ของสังคม ดังนั้นจึงเกิดช่องว่างในการพัฒนาที่มีความซับซ้อนทั้งในสถานการณ์สุขภาพและสภาพความเป็นอยู่ของประชากรในประเทศมากยิ่งขึ้น โดยที่ในเขตเมืองและชนบทมีแตกต่างระหว่างการได้รับการพัฒนาและไม่ได้รับการพัฒนาด้านการดูแลสุขภาพ อีกทั้งการเข้าไม่ถึงข้อมูลรวมทั้งการได้รับบริการขั้นพื้นฐานจะโดดเด่นและกว้างขวางมากขึ้น ในขณะโรคติดเชื้อยังคงเป็นนักฆ่าที่สำคัญและยังคงมีรายอุบัติใหม่เกิดขึ้นอีกเช่น สถานการณ์โรคไข้ซิกาซึ่งเป็นภัยเงียบจากยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรค  การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยานำไปสู่การเป็นภาระคู่ของการเกิดโรคติดเชื้อและโรคไร้เชื้อ  ซึ่งสถานการณ์กลับแย่ลงเมื่อเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อเอชไอวี / เอดส์ อันเนื่องมาจาก เศรษฐกิจเสรีในยุคโลกาภิวัตน์ ความก้าวหน้าในเทคโนโลยีสารสนเทศและการขยายตัวอย่างรวดเร็วของช่องทางการสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ ระดับการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วและแย่ลงทั้งปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพทางสังคม การค้ามนุษย์และแรงงานเด็ก การเจ็บป่วยของประชากร การค้ายาเสพติดข้ามพรมแดนและการค้าประเวณีได้จึงกลายเป็นปัญหาไร้พรมแดน ข้อมูลในชุมชนจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำมาประมวลให้เกิดเป็นสารสนเทศที่พร้อมจะนำไปสู่การจัดการความรู้ที่จะก่อให้เกิดนวัตกรรมทางด้านการดูแลสุขภาพชุมชน

Field training for public health professionals is one of the most important elements of public health education.  Public Health professionals are primarily working with population group.  Technical knowledge alone is not enough to work effectively, especially in a rapidly globalizing world where the public health was even more complex.  The rate of change and the complexity of the health situation in less developed countries adopted the ready-made technologies and applied them directly to a different context.  The rates of the health situations change in the less developed countries, therefore, are not congruent with the rate of changes in other components of the social system.  Particularly the change and the complexity of the health situation in Thailand, as a member country of the ASEAN Economic Community (AEC), Thailand need to have the health indicators that reflect the health situation of ASEAN.   Urban and rural disparities between the haves and have-nots about health development, and inaccessibility of information and basic services, become wider and more predominant while infectious disease remains the major killers and is in some cases re-emerging such as Zika virus disease.  The epidemiological transition leads to a double burden of disease, combination of infectious and non-communicable disease.  The situation is worsened by the pandemic of HIV/AIDS, the globalized and liberalized economy advancement in information technologies, and the expansion of the electronic superhighway.  The rate of change has accelerated and worsened the problems related to social pathology, for example, women trafficking, and prostitution become problems with no frontiers.  The data in the community is extremely important to be collected and analyzed as information that will lead to knowledge management to bring innovation to the healthcare community.

Article Details

Section
บทความวิชาการ