ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร;Factors Related to Promoting Health Service to Elderly at Public Health Center 67 Thawiwatthana, Department of Health, Bangkok Metropolitan

Main Article Content

รัตนา มูลนางเดียว

Abstract

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ศูนย์บริการสาธารณสุข 67 ทวีวัฒนา สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร จำนวน 1,172 คน โดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 299 คน  เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเที่ยงของปัจจัยแต่ละส่วนอยู่ระหว่าง 0.72 ถึง 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน

ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุ มีการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อนำมาทดสอบสมมติฐาน พบว่า (1) ปัจจัยด้านชีวสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ (2) ปัจจัยนำ ด้านความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนด้านเจตคติต่อการส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ประโยชน์และอุปสรรคของการส่งเสริมสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (3) ปัจจัยเอื้อ มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 (4) ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ  อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 

The objective of this descriptive research was to examine factors related to promoting health service to elderly at public health center 67 Thawiwatthana, Department of Health, Bangkok Metropolitan Administration. The samples were selected by sample random sampling of 299 out of 1,172 elderly at Public Health Center 67 Thawiwatthana, Department of Health, Bangkok Metropolitan Administration. This research was a cross-sectional one. The questionnaire with index of item-objective congruence value between 0.72 - 0.87 was used as the research tool. The data received were analyzed using statistical software packages. Descriptive statistics used were percentage, mean, standard deviation, Chi- square test, Pearson’s Product moment correlation coefficient. 

The results show that the majority of the respondents got the access to health promotion at moderate level. The hypothesis testing demonstrated that (1) The biosocial factors were not related to the elderly health promotion, (2) The predisposing factor from health promotion knowledge was not related to elderly health promotion, but the attitude on health promotion, the awareness of benefits and the obstacles to health promotion were significantly related to elderly health promotion (P ≤ 0.05), (3) The reinforcing factors were significantly related to the elderly health promotion (P ≤ 0.05), (4) The enabling factors were significantly related to elderly health promotion (P ≤ 0.05).

Article Details

Section
บทความวิจัย