การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning) บน Cloud Computing ด้วย Google Apps

Main Article Content

ลลิตา ณ หนองคาย
ธงชัย แก้วกิริยา

Abstract

การเรียนโดยส่วนใหญ่ นิยมเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเอื้อประโยชน์ให้ผู้เรียนได้รับและเข้าใจเนื้อหาในบทเรียนได้มากที่สุด และหนึ่งในวิธีการเรียนดังกล่าว คือ การเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Base Learning: PBL) เป็นรูปแบบการเรียนที่เน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า เพื่อแก้ไขปัญหาที่ผู้สอนมอบให้ด้วยตนเอง โดยมีผู้สอนเป็นผู้คอยให้คำแนะนำ และนำมาใช้ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative Learning) เป็นการเรียนแบบกลุ่ม เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะในการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน โดยการเรียนแบบร่วมมือจะเกิดประสิทธิภาพเมื่อสมาชิกในกลุ่มทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในหน้าที่ของงานที่ได้รับมอบหมายทุกคน บทความฉบับนี้นำเสนอ การเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ในรายวิชาการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น นอกจากนี้ได้นำเทคโนโลยีระบบประมวลผลกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) มาร่วมใช้งานด้วย โดยเลือกใช้ Google Apps Engine ซึ่งเป็นผู้ให้บริการ Cloud Computing ที่ให้บริการทรัพยากรหลากหลายรูปแบบ และสามารถนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการทดลอง ผู้วิจัยได้แบ่งผู้เรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือบน Cloud Computing ด้วย Google Apps จำนวนกลุ่มละไม่เกิน 3 – 5 คน และอีกกลุ่มคือกลุ่มผู้เรียนที่เรียนแบบปกติ คือเรียนบรรยายและทำแบบฝึกหัดในคาบเรียน ซึ่งเปรียบเทียบด้วยการให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนในตอนท้าย และนำมาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทั้ง 2 กลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนที่เรียนด้วยวิธีใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือบน Cloud Computing มีคะแนนทดสอบเฉลี่ยสูงกว่ากลุ่มผู้เรียนที่เรียนด้วยการบรรยายและทำแบบฝึกหัดในคาบเรียน

As most of the learnings center on the student to benefit the students in accessing and understanding of the learning contents. One of the learning method is the problem-based learning (PBL). PBL is a method that allows students to study by themselves in order to solve the problems given by the teacher. The teacher usually advises the students along the course. PBL usually uses the cooperative learning or group learning to practice the teamwork skill for the mutual goal. The cooperative learning can only reach its highest efficiency when everyone in the group takes a part in the work and responsible for its assignments. This article presents the cooperative problem-based learning for the basic programming subject. The technology of cloud computing and Google Apps Engine which is a cloud computing service provider was proposed. Its resources are also available in

In the experiment, we divided students into two groups. The first is the students who study under cooperative PBL on the cloud computing by using Google Apps. Each group contain 3 – 5 students. The other group study by attending lecture classes and practice by doing exercises in the class. The comparison was done by comparing the academic achievement which was measured by post-test score between two groups. The result shows that students who study under cooperative PBL on cloud computing gain higher average score than another group.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-based Learning : PBL). (5 สิงหาคม 2559) สืบค้นจาก http://ph.kku.ac.th/thai/images/file/km/pbl-he-58-1.pdf.

การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (7 สิงหาคม 2559) สืบค้นจาก http://k2mse.eng.rmutp.ac.th/wp-content/uploads/2012/09/2การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ.pdf.

การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน Problem-based Learning (PBL). (5 สิงหาคม 2559) สืบค้นจาก http://www.vcharkarn.com/blog/37131. 5 สิงหาคม 2559.

เฉลิมชัย กาญจนคเชนทร์ และ สมเกียรติ พรพิสุทธิมาศ. (2559). การศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในรายวิชาชีววิทยาที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน. การประชุมวิชาการระดับชาติครุศาสตร์ ครั้งที่ 1 เรื่อง การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ประชาคมอาเซียน : ทิศทางใหม่ในศตวรรษที่ 21 วันที่ 28 กรกฎาคม 2559 จังหวัดกาฬสินธุ์, 379.

วาฤทธิ์ กันแก้ว และ ณมน จีรังสุวรรณ. (2558). การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันผ่านเทคโนโลยีคลาวด์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 6(1), 197 - 203.

วาสนา ภูมิ. (2549). ผลของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เรื่อง อัตราส่วนร้อยละ ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วิชญา รุ่นสุวรรณ์. (2558). รูปแบบระบบการจัดการเรียนการสอนบนเทคโนโลยีก้อนเมฆเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนด้านคอมพิวเตอร์. Panyapiwat Journal, 2(17), 169 - 175.

วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2557). ระบบประมวลผลกลุ่มเมฆในงานทางการศึกษา Cloud Computing for Education. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1), 149 - 157.

วิภาภรณ์ บุญหา. (2541). วพ.การศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นหลักใน วพ.สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อาภรณ์ แสงรัศมี. (2543). ผลของการเรียนแบบใช้ปัญหาเป็นหลักต่อลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความพึงพอใจต่อการเรียนการสอนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

อุดม รัตนอัมพรโสภณ. (2544). ผลของการสื่อสารในเวลาเดียวกัน และต่างเวลากันในการเรียนรู้ผ่านเว็บโดยใช้ปัญหาเป็นหลักที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ

The Learning Pyramid. (2016, August 5) Retrieved from

http://stephenslighthouse.com/2010/02/26/the-learning-pyramid/.

John R. Savery. (2006). Overview of Problem-based Learning : Definitions and Distinctions. Interdisciplinary Journal of Problem-Based Learning, 1(1), 1 - 3.