การสำรวจพฤติกรรมและรสนิยมการรับชมรายการโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชมกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ; Exposure Behavior and Taste from Watching TV Program of Urban Audience in Bangkok and Perimeter

Main Article Content

กานต์ เชาวน์นิรัติศัย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการรับชมรายการโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และรสนิยมการรับชมรายการโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล อันจะเป็นข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้ทราบถึงพฤติกรรมและรสนิยมการรับชมรายการโทรทัศน์ในปัจจุบันของกลุ่มผู้ชมกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยวิธีการวิจัยเชิงสำรวจ(Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 905 คน

ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมผู้ชมรายการโทรทัศน์ของกลุ่มผู้ชมในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการโทรทัศน์ จำนวน 905 คน พบว่ากลุ่ม ตัวอย่างรับชมโทรทัศน์ผ่านช่องทางทางกล่องดิจิทัล ร้อยละ 45.3 รับชมผ่านเคเบิลทีวี ร้อยละ 30.5 และรับชมผ่านจานดาวเทียม ร้อยละ 28.7 โดยที่ในที่พักอาศัยของกลุ่มตัวอย่างมีโทรทัศน์จำนวน 1 เครื่อง ร้อยละ 38.2 และภายในที่พักอาศัยมีโทรทัศน์จำนวน 2 เครื่อง ร้อยละ 34.9 โดยกลุ่มตัวอย่างใช้เวลาเฉลี่ยในการรับชมรายการโทรทัศน์โดยประมาณ 1-3 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 60.1 และรับชมรายการโทรทัศน์ประมาณ 4-6 ชั่วโมงต่อวัน ร้อยละ 20.4 สำหรับกิจกรรมที่ผู้ชมทำร่วมระหว่างรับชมรายการโทรทัศน์ พบว่า ผู้ชมใช้โทรศัพท์มือถือเพื่อเข้าถึงสื่อสังคมออนไลน์ควบคู่กับการรับชมโทรทัศน์ ร้อยละ 45.6 และรับประทานอาหารควบคู่การรับชมโทรทัศน์ ร้อยละ 42.1 ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ตั้งใจชมโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว มีเพียงร้อยละ 29.1 จากการวิจัย แสดงให้เห็นว่ากลุ่มผู้ชมรายการโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลส่วนใหญ่ ไม่ได้มีสมาธิจดจ่ออยู่กับรายการโทรทัศน์เพียงอย่างเดียว สำหรับผลวิจัยด้านรสนิยม ของผู้ชมรายการโทรทัศน์ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ผู้ทำการวิจัยได้แบ่งประเภท ของรายการโทรทัศน์ ดังนี้ รายการข่าว รายการสารคดี ละคร ซีรีส์ เกมโชว์ ทอล์คโชว์/วาไรตี้ รายการกีฬา และการถ่ายทอดสดกีฬา พบว่า กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบรายการข่าวประเภทข่าวสังคม วัฒนธรรมและบันเทิง ร้อยละ 67.6 กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบสารคดี

ประเภทสัตว์โลก ร้อยละ 53.3 กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบละครสมัยใหม่ ร้อยละ 47.4 กลุ่มตัวอย่างไม่สนใจรับชมซีรีส์ใดเลย ร้อยละ 52.1 กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบรายการเกมโชว์ ประเภทตลก ร้อยละ 65.1 กลุ่มตัวอย่างไม่สนใจรับชมทอล์คโชว์ / วาไรตี้ ร้อยละ 43.4 กลุ่มตัวอย่างชื่นชอบรายการกีฬาประเภทสรุปข่าวกีฬา ร้อยละ 53.0 และกลุ่มตัวอย่าง  ชื่นชอบการถ่ายทอดสดกีฬาภายในประเทศ คิดเป็นร้อยละ 48.8

The purposes of the study were to examine the exposure behavior and taste of the respondents to the television programs. The samples used in this study were urban audience in Bangkok Metropolitan Region: Bangkok, Nonthaburi, Samut Prakan, Pathum Thani, Samut Sakhon, and Nakhon Pathom. This research was a quantitative one using questionnaire as an instrument. The questionnaires were delivered to 905 respondents. The results found that :

1. The majority of the respondents watched television programs via Set-Top Box. The respondents had 1 television set per household, the average time for the majority of the respondents to watch the television program was 1-3 hours and they used smart phone to access the social network while watching television. The data showed that the majority of the respondents did not concentrate on watching.

2. The majority of the respondents liked watching social, culture, and entertainment news (67.6%), animal planet documentary (53.3%), modern TV drama (47.4%), the respondents did not enjoy watching TV series (52.1%); the majority of the respondents liked to watch comedy game shows (65.1%), 43.4% of these respondents did not watch talk shows / variety, They preferred watching short sport news (53.0%) and local sport live broadcast (48.8%).

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

ธีรศักด์ อริยะอรชุน. (2556). พฤติกรรมการเปิดรับและความพึงพอใจต่อรายการข่าวทางสถานีโทรทัศน์ ดาวเทียมของผู้ชมในเขตกรุงเทพมหานคร. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

นวรัตน์ ไชยฤกษ์. (2557). การเปิดรับ ความพึงพอใจ และความคาดหวังของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร ที่มีต่อละครโทรทัศน์ของช่องโทรทัศน์ดิจิทัล. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต, กรุงเทพฯ.

ภัททิรา กลิ่นเลขา. (2557). พฤติกรรมการเปิดรับสื่อและความต้องการรูปแบบรายการโทรทัศน์ของคนพิการทางสายตา. รายงานวิจัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.

สถาพร สิงหะ. (2556). การเปิดรับสื่อ การใช้ประโยชน์ และความพึงพอใจกับการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวแบบดำน้ำลึกของนักดำน้ำชาวไทย. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

สุดารักษ์ เนื่องชมภู. (2553). ความต้องการและความพึงใจต่อรายการโทรทัศน์ของสถานี โทรทัศน์สาธารณะของประชาชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อุทุมพร สุขวงกฏ. (2558). พฤติกรรมการเปิดรับชมและความพึงพอใจต่อรายการ ห้องข่าว 7 สี ทางสถานีโทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7. คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.

Blumler, J. G. (1979). The role of theory in uses and gratifications studies. SAGE Journals, 6(1), 9-36.

Maxwell E. McCombs and Lee B. Becker. (1979). Using Mass Communication. United States : Prentice-Hall.

Palmgreen, P., Wenner, L.A., & Rayburn, J.D. (1981). Gratification discrepancies and news program choice. SAGE Journals, 8(4), 451-478.