ทัศนคติทางภาษาของวัยรุ่นไทยที่มีต่อผู้พูดภาษาไทยกลางและผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน

ผู้แต่ง

  • อำนาจ ปักษาสุข ภาควิชาภาษาไทยและภาษาวัฒนธรรมตะวันออก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ทัศนคติทางภาษา, ภาษาไทยกลาง, ภาษาไทยถิ่นอีสาน, เทคนิคการพรางเสียงคู่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติทางภาษาของวัยรุ่นไทยที่มีต่อผู้พูดภาษาไทยกลางและผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสาน กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นเพศชาย 15 คน เพศหญิง 15 คน โดยใช้เครื่องมือ “Matched-guise technique” หรือเทคนิคการพรางเสียงคู่ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทัศนคติต่อผู้พูดภาษาไทยกลางและผู้พูดภาษาไทยถิ่นอีสานในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละคุณลักษณะพบว่าคุณลักษณะที่ผู้พูดภาษาไทยกลางได้รับการประเมินสูงกว่าภาษาไทยถิ่นอีสานส่วนใหญ่เป็นคุณลักษณะด้านความรู้และสถานภาพ ในขณะที่คุณลักษณะที่ผู้พูดภาษาไทยกลางได้รับการประเมินต่ำกว่าภาษาไทยถิ่นอีสานจะเป็นคุณลักษณะด้านจริยธรรม

References

ดียู ศรีนราวัฒน์. (2529). “ทัศนคติที่บอกได้จากภาษา.” วารสารธรรมศาสตร์. 15 (2), 50-57.
ธีระ รุ่งธีระ. (2550). “การศึกษาทัศนคติทางภาษาที่มีต่อผู้พูดภาษาไทยและผู้พูดภาษาฝรั่งเศส.” วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. 27 (3), 184-211.
นันทกา วชิรพินพง. (2530). การศึกษาทัศนคติทางภาษาที่มีต่อภาษาจีนและผู้พูดภาษาจีนในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
นิตยา กาญจนะวรรณ. (2557). “ความสำคัญของภาษาท้องถิ่น.” วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ . 6 (1), 1-11.
ประจักษ์ บุญอารีย์. (2544). ธรรมชาติกับวิถีชีวิตชุมชนอีสาน. สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏอุบลราชธานี.
ยูทากะ โทมิโอกะ. (2552). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยอีสานที่มีอายุต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รัตนา จันทร์เทาว์. (2550). “ลมหายใจ...ภาษาถิ่น (อีสาน).” วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์. 24 (3), 13-24.
ราตรี ธันวารชร. (2549). “ภาษาถิ่น: วิธีเรียนรู้และรักษา.” วารสารวรรณวิทัศน์. 6 (พฤศจิกายน), 217-230.
ศศิธร ธาตุเหล็ก. (2541). ทัศนคติของคนในกรุงเทพมหานครที่มีต่อการพูดภาษาไทยปนภาษาอังกฤษ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศิริรัตน์ ชูพันธ์ อรรถพลพิพัฒน์. (2556).“ทัศนคติของคนกะเหรี่ยงที่มีต่อภาษากะเหรี่ยงและภาษาไทย.” วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 5 (1), 137-162.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2557). รายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2555. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สุพัตรา สุภาพ. (2546). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
สุเมธ แก่นมณี และคณะ. (2546). การพัฒนายุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2549). “ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกภาษาของกลุ่มชาติพันธุ์.” ใน บาหยัน อิ่มสำราญ (บรรณาธิการ). ภาษาและวรรณกรรมกับสังคม (น.115-133). ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Deeyoo Palikupt. (1983). Central Thai and Northeastern Thai: A Linguistic And Attitudinal Study. Ph.D. Dissertation of Texas at Austin.
Wallace E. Lambert. (1972). “Evaluational Reactions to Spoken Language.” in ed. Anwar s. Dil. Language, Psychology, and Culture (pp.80-95). California: Stanford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-31