8. ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 20

Main Article Content

เครือวัลย์ ทิพวัต
พนายุทธ เชยบาล
พิมพ์พร จารุจิตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครู และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารกับการจัดการเรียน การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 3,097 คนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ครู ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน  342 คน แล้วกำหนดสัดส่วนของกลุ่มตัวอย่างตามขนาดโรงเรียนใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จากนั้นใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับสลากเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า แบ่งเป็นแบบสอบถามการบริหารโรงเรียนของผู้บริหารมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 และการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันผลการวิจัยพบว่า 1)การบริหารโรงเรียนของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับมาก2)การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3)การบริหารโรงเรียนของผู้บริหารมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กนกรัตน์ ภู่ระหงษ์. (2549).ประสิทธิผลการดำเนินงานตามมาตรฐานการศึกษาด้านผลผลิตของผู้บริหารและพนักงานครูในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลจังหวัดสระบุรี.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2552).หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

3. ชุติกาญจน์ สกุลเดช. (2552).การวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่สัมพันธ์กับประสิทธิภาพการสอนของครูคณิตศาสตร์ใน
โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3.วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

4. นัยนา กวนวงศ์. (2558).ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการสอนของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

5. นาวา สุขรมย์. (2550).ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอน
ของครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

6. บุญชู ชูติปญโญ. (2550). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมาเขต 1.วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
ประจักร บัวผัน. (2554).หลักการบริหารสาธารณสุข. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

7. ไพโรจน์ กลิ่นกุหลาบ. (2550). การนิเทศการศึกษาทฤษฎีและปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

8. สถาบันพัฒนาครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา. (2550). Teacher Watch. นครปฐม: สถาบันพัฒนา ครูคณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา.

9. สมยศ นาวีการ. (2550).การบริหาร. กรุงเทพฯ: คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมบริหารจัดการศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

10. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). รายงานการปฏิบัติการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ.

11. สำนักงานปฏิรูปการศึกษา. (2545).การพัฒนาตัวบ่งชี้สำหรับประเมินคุณภาพการบริหารจัดการเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ: ธารอักษร.

12. สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน. (2550). แผนส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554).กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

13. สุจินต์ ใจกระจ่าง. (2553).สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.ทุนอุดหนุนการวิจัย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

14. สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2551). วิธีการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ.พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

15. โสภา ชัยพัฒน์. (2558). การศึกษาความคิดเห็นของผู้อํานวยการโรงเรียน ครู ผู้ปกครองที่มีต่อพฤติกรรมการใช้อุปกรณ์แท็บเล็ตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558. วิทยาลันตพล อุดรธานี.

16. โสภิณ ม่วงทอง. (2553).ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญในภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูรพา.

17. อเนก ไชยคำหาญ. (2559).ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครูด้านการปฏิบัติงาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.

18. Reddin, W.J. (1970). Managerial Effectiveness.New York: McGraw Hill.

19. Simon, H. A. (1960). Administrative Behavior. 3rd ed. New York: The free Press.