3. การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

พิมภรณ์ พวงชื่น
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษด้วยชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 75.00 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำ กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนชุมชนบ้านทุ่งสงบ ตำบลไผ่เขียว อำเภอสว่างอารมณ์ จังหวัดอุทัยธานี สังกัดสำนักงานศึกษาธิการอุทัยธานี ซึ่งได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive  sampling) จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ประกอบด้วย 3 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 พยัญชนะต้น ตอนที่ 2 สระ ตอนที่ 3 การผสมคำ แบบประเมินชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค แบบประเมินทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำ แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ ผลการวิจัยพบว่า


1) ค่าดัชนีประสิทธิผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเท่ากับ 0.6771 แสดงว่านักเรียนมีคะแนนเพิ่มขึ้นจากคะแนนทดสอบก่อนเรียน คิดเป็นร้อยละ 67.71 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 1


2) ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กับเกณฑ์ร้อยละ 75.00 พบว่า คะแนนสอบหลังเรียนของนักเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานข้อที่ 2


3) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโฟนิค เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านออกเสียงและสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับพึงพอใจมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.53 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.50

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กมล สุดประเสริฐ และสุนทร สุนันท์ชัย. (2540). การปฏิรูปการศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
[2] กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
[3] กุณฑิกา พัชรชานนท์ และบัลลังก์ โรหิตเสถียร. (2561). ปลอด นร.อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้. [Online]. เข้าถึงได้จากhttp://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=40018&Key=news_act2558. (31 กรกฎาคม2561)
[4] จีรนันท์ เมฆวงษ์. (2547). การพัฒนาความสามารถในการออกเสียงภาษาอังกฤษและความคงทนในการเรียนรู้คาศัพท์ด้วยวิธี การสอนแบบโฟนิค. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[5] ดวงใจ ตั้งสง่า. (2557). ชวนลูกเรียนรู้ภาษาอังกฤษ ตอน โฟนิคส์คืออะไร ทำไมต้องเรียน. [Online]. เข้าถึงได้จาก http://taamkru.com/th/โฟนิคส์คืออะไร-ทำไมต้องเรียน/, 2555-2556. (15 กรกฎาคม 2557).
[6] ธงชัย ต้นทัพไทย. (2548). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และค่านิยมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่สอนโดยใช้ชุดกิจกรรมพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[7] บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (ฉบับปรับปรุงใหม่). พิมพ์ครั้งที่ 8 . กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
[8] ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2550). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ : อี.เค.บุ๊คส์.
[9] ปรียา โนแก้ว และประนุท สุขศรี. (2548). รายงานการวิจัย เรื่อง ข้อมูลพื้นฐานการจัดการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศในภาคเหนือ. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
[10] พะเยา พรหมเทศ. (2549). การใช้การสอนภาษาที่เน้นคาศัพท์เพื่อเพิ่มพูนความรู้คาศัพท์ และความเข้าใจใน การอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับก้าวหน้า. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต วิชาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
[11] พิษณุวัชร์ สวัสดี. (2558). สภาพและปัญหาการดำเนินการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2558.
[12] สรียาภรณ์ นนทะปะ. (2558). การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงสะกดคำภาษาอังกฤษ (Phonics) โดยใช้แบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. โรงเรียนบ้านน้ำแคม อำเภอท่าลี่ จังหวัดเลย.
[13] สายหยุด จันทร์มา. (2549). การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารเรื่อง “Food for Health” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม.,มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์, อุตรดิตถ์.
[14] สุชาดา อินมี. (2556). การพัฒนาการออกเสียงคาศัพท์ภาษาอังกฤษด้วยสื่อโฟนิคโปสเตอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. โรงเรียนวัดธงชัยธรรมจักร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์.
[15] อินทิรา ศรีประสิทธิ์. (2552). เด็กไทยติดเกม เพราะอ่านอังกฤษไม่ออก. [Online]. ค้นเมื่อ 27 กุมภาพันธ์ 2552. จาก http://www.saijai.net/frontEnd/newsHtml.jsp?id=reading.