14. การพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษ เพื่อความเป็นเลิ

Main Article Content

มติกาญจน์ จิตกระโชติ
สุภาภรณ์ ตั้งดำเนินสวัสดิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาโครงการภาษาอังกฤษ  2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ปัญหาและพัฒนา  การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศ 3) เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษเพื่อความเป็นเลิศ โดยได้มีกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานการจัดการศึกษาโครงการภาษาอังกฤษ ที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ของในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 152 คนใช้เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 และแบบสัมภาษณ์  สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐานโครงการภาษาอังกฤษในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด  (Mean =4.39,SD.=0.40) ส่วนการบริหารในด้านต่างๆ เป็นดังนี้ คือ การบริหารด้านหลักสูตรวิชาการ การจัดการเรียนรู้การวัดและการประเมินผล ระดับมากที่สุด ( Mean =4.53,SD.= 0.40 ) ต่อมาด้านนโยบาย กลยุทธ์ และการบริหารจัดการ ( Mean =4.38,SD.=0.41) และด้านคุณภาพผู้เรียน (Mean =4.26,SD.=0.57) ตามลำดับที่มากไป


หาน้อย 2) แนวทางแก้ปัญหาและพัฒนาการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้ 2.1 ด้านหลักสูตรวิชาการ การจัดการเรียนรู้การวัดและการประเมินผล ได้แก่การจัดการสอนเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ  การจัดแหล่งเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายความร่วมมือทั้งภายในและต่างประเทศ 2.2 ด้านนโยบาย กลยุทธ์และการบริหารจัดการ ได้แก่การสร้างเครือข่ายในความร่วมมือ
ด้านวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ  2.3 ด้านคุณภาพผู้เรียน ได้แก่การส่งเสริมทักษะความรู้ด้านการสอนให้ครูผู้สอน
การช่วยเหลือนักเรียน และการสนับสนุนงบประมาณจากผู้ปกครองเพื่อจ้างครูชาวต่างชาติ3) การพัฒนาและประเมินรูปแบบ
การบริหารสถานศึกษาพบว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนเอกชนแบบโครงการภาษาอังกฤษ
เพื่อความเป็นเลิศประกอบด้วย ภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา การบริหารบุคคล การบริหารงบประมาณ การบริหารทั่วไป และการบริหารวิชาการโดยรูปแบบได้รับการประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารสถานศึกษาเอกชน ผลการประเมินพบว่ารูปแบบการบริหารสถานศึกษาทุกองค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมาก ( Mean =4.13, SD. = 0.72)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). พัฒนาการหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาพลาดพร้าว.

3. กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). การขอเปิดสอนโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษา อังกฤษ (English Program: EP). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

4. พลภัทร์ ศรีวาลัย ทวิกา ตั้งประภา และสุรศักดิ์ อมรรัตนศักดิ์. (2561). การประเมินโครงการห้องเรียนพิเศษ (English Program) ของโรงเรียนสิริรัตนาธรโดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินโครงการแบบ CSE ของอัลคิน. วารสารบัณฑิต วิทยาลัย ปีที่ 10 ฉบับที่ 1. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

5. พิสิฐ เทพไกรวัล. (2554). การพัฒนารูปแบบเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพการจัดการศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา
ขนาดเล็ก. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6. ยืนยง ไทยใจดี และภานุพงษ์ ไชยนาพันธ์. (2561). การจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. วารสารวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2561.วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

7. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2559). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ฉบับที่ 12 ( พ.ศ. 2560- 2564).กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

8. สำนักคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน. (2559). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2558.กรุงเทพฯ:สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน.

9. สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ:สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.