3. กระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการจัดการพื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ป่าชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนบ้านคำปลาหลาย ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

วสิษฐ์พล ศรีนารถนาวา
ธัชเฉลิม สุทธิพงษ์ประชา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาและความรู้ความเข้าใจในสิทธิการถือครองที่ดินตามกฎหมายและป่าชุมชน 2) เพื่อศึกษาปัญหาที่เกิดจากการบุกรุกพื้นที่สาธารณะในเขตพื้นที่ชุมชนบ้านคำปลาหลาย และ 3) เพื่อวิเคราะห์และถอดบทเรียนประสบการณ์ของประชาชนในชุมชนในการบริหารจัดการพื้นที่ป่าชุมชน ดำเนินการวิจัยในเชิงคุณภาพ (Qualitative  research) โดยเลือกกลุ่มเป้าหมายแบบเจาะจง โดยเลือกพื้นที่ชุมชนบ้านคำหลาย หมู่ที่ 9 ตำบลบ้านดง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มย่อย แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาสาระ การนำเสนอข้อมูล นำมาวิเคราะห์ ประกอบกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก รวมถึงข้อสังเกตต่าง ๆ ที่ได้จากการลงพื้นที่ ข้อมูลทุติยภูมิ นำเสนอเป็นข้อมูลเชิงพรรณนาคิดเป็นร้อยละค่าเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการเรียนรู้ของชุนชนบ้านคำปลาหลายยึดหลักตามพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง กระบวนการเรียนรู้เริ่มจากการรวมตัวของผู้นำชุมชนที่ริเริ่ม ผลักดันจนนำไปสู่การปฏิบัติโดยใช้ภาวะผู้นำ ใช้กระบวนการกลุ่ม มีการถ่ายทอดองค์ความรู้สู่คนในชุมชนให้คนในชุมชนเกิดการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อยกระดับความรู้ความสามารถในการคิดวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ค้นหาทางเลือกใหม่ ๆ ในการพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่สามารถทำได้จริงที่รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง โดยการปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนเน้นการแก้ไขปัญหาร่วมกันจนกลายเป็นชุมชนที่มีความเข้มแข็งและสามารถพึ่งพาตนเองได้ เป็นชุมชนต้นแบบที่ดี และยังสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชนอื่น ๆ เพื่อนำไปต่อยอดและปรับใช้ให้เหมาะสมกับชุมชนของตนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กิตติศักดิ์ รัตนกระจ่างศรี. (2552).การจัดทำแนวเขตการใช้ที่ดินอย่างมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการความขัดแย้งในเขตป่าอนุรักษ์: กรณีศึกษาหมู่บ้านหินเหล็กไฟ ตำบลดอยแก้ว อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการใช้ที่ดินและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

2. กังสดาล เชาว์วัฒนกุล. (2558).การบริหารจัดการป่าโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนร่มโพธิ์ทอง อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 41(2), 19-31.

3. จินตวีร์ เกษมศุข. (2554). การสื่อสารกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม.ค้นเมื่อ 18สิงหาคม 2558, จาก https://lib.vu.ac.th/ULIB/dublin.php?ID=13399115657

4. ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2543). การบริหารการพัฒนาชนบท เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน.กรุงเทพฯ: 21 เซ็นจูรี่.

5. นิเวช เตชะบุตร. (2555). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลสบปราบ จังหวัดลำปาง. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระ ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

6. ธีรวงศ์ เหล่าสุวรรณและคณะ. (2559). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนโคกกระโหล่ง-โป่งแดง ตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม.วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 14(2), 149 – 169.

7. เดือนนภา ภู่ทอง. (2561). การจัดการป่าชุมชนเพื่อความยั่งยืนโดยการใช้กระบวนการมีส่วนร่วมสาธารณะ และจารีตประเพณีท้องถิ่นในพื้นที่ภาคเหนือ, วารสารการบริหารและการจัดการ, 6(2),80 – 94.

8. พิมจันทร์ แสงจันทร์, ศาศวัต แพ่งแพ และวิมล มิระสิงห์. (2557).รูปแบบการจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนอยางยั่งยืน: กรณีศึกษาป่าชุมชน เขาราวเทียนทองจังหวัดชัยนาท. วารสารจันทร-เกษมสาร, 20(39), 19 – 28.

9. ไวพจน์ ดวงจันทร์, จุฑามาส ทองบัวร่วง และภูมิพัฒน์ ชมภูวิเศษ. (2560). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า จากการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ประเภทของที่ระลึก : กรณีศึกษาแหล่งมรดกโลกบ้านเชียง ตําบลบ้านเชียง อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี.วารสารวิชาการสันตพล, 1(2), 1 – 8.

10. ศิริชัย พันธุ์เจริญ. (2546). การปรับตัวของปกากะญอในการจัดการทรัพยากรตามแบบประเพณีภายใต้บริบทกฎหมายของรัฐ.
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

11. สุชาวดี ชูเอน.(2555). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาตำบลวังมะปราง อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง.วารสารวิทยบริการ, 23(3), 43 – 53.

สุพิชาณาย์ อภัยสุวรรณ. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการพัฒนาตำบล ขององค์การบริหารส่วนตำบลสะเมิงเหนือ 12. อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่.รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

13. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.(2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พ.ศ. 2555 – 2559.ค้นจาก https://www.nesdb.go.th/download/article/article_20160323112431.pdf

14. อคิน รพีพัฒน์. (2527). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาชนบทในสภาพสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.

15. อานันท์ กาญจนพันธุ์ และมิ่งสรรพ์ ขาวสะอาด. (2538). วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า: กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน.กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.