1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัย เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู

Main Article Content

สถิตย์ กุลสอน
ชานนท์ เศรษฐแสงศรี
มีศักดิ์ แสงศิลา
ประหยัด ฤาชากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู และ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูล
เชิงประจักษ์ การวิจัยแบ่งเป็นสองระยะ ระยะที่หนึ่ง การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัยโดยการศึกษาเอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมติฐานการวิจัย โดยแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า
มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู รวมทั้งสิ้น
327 คน ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์


ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ประกอบด้วย คุณลักษณะอาจารย์ การจัดการเรียนรู้ คุณลักษณะของนักศึกษา และสภาพแวดล้อม 2) รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่า X2
  เท่ากับ 220.18 ค่า df เท่ากับ 117 ค่า P-value เท่ากับ 0.15 ค่า GFI เท่ากับ 0.97 ค่า AGFI เท่ากับ 0.95 ค่า RMSEA เท่ากับ 0.02  โดยปัจจัยด้านคุณลักษณะนักศึกษา มีอิทธิพลทางตรงอย่างมีนัยสำคัญต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัย
เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ มากที่สุด รองลงมาคือ คุณลักษณะอาจารย์ ส่วนปัจจัยที่ส่งผลทางอ้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มากที่สุดคือ การจัดการเรียนรู้ ตัวแปรทั้งหมดในรูปแบบที่พัฒนาขึ้นสามารถอธิบายความแปรปรวนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู ได้ร้อยละ 68.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จรูญเกียรติ พงศ์กุลศร. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. กาฬสินธุ์ : มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนศาสตรเฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์.

ชานนท์ เศรษฐแสงศรี. (2562). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาศูนย์เด็กเล็กวัดธาตุสว่างโนนยาง ตำบลกุดสระ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลยัสันตพล ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 มกราคม – มิถุนายน 2562. หน้า 143-156. วิทยาลัยสันพตล อุดรธานี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2556). การวิเคราะห์สถิติหลายตัวแปรสำหรับงานวิจัย. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รุจิราพรรณ คงช่วย. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้. รายงานการวิจัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา.

สุพิชญ์กฤตา พักโพธิ์เย็น. (2560). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาสาขาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

อาภรณ์ อินต๊ะชัย. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์. รายงานการวิจัย. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพเชียงใหม่.

อุทัยวรรณ สายพัฒนะ. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต สาขาวิชาชีพครู มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพฯ. วารสารมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ. 1 (1), 141-146.