6. ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อกกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

อุมาพร ศรีอุ่นลี
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อกกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้บริการสปาประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการ
สปาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อกกรุงเทพมหานครใช้แบบสอบถามปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาในโรงแรมคอลัมแบงค๊อกกรุงเทพมหานคร เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลโดยมีกลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 323 ราย ใช้สถิติ คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบสมมติฐานคือRegression analysis Multiple Regression Chi-square


ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 30 – 39 ปี สถานภาพสมรส จบการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี อาชีพพนักงานเอกชน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001 – 40,000 บาท ด้านพฤติกรรมการใช้บริการสปาพบว่า
มีการใช้บริการประเภทนวดน้ำมัน ใช้บริการในช่วงเวลา 15. 01 – 19. 00 น. มาใช้บริการคนเดียวมีการตัดสินใจใช้บริการ
ด้วยตนเอง ทราบแหล่งข้อมูลการให้บริการจากแผ่นพับและใบปลิว ในส่วนของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาพบว่า โดยรวมให้ความสำคัญต่อการใช้บริการสปาในระดับมาก ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านกระบวนการและด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ


ผลการทดสอบสมมุติฐานปัจจัยส่วนบุคคล ด้านอายุ สถานภาพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้การบริการสปา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ด้านผลิตภัณฑ์ ประกอบด้วย การใช้บริการนวดเท้า และด้านบุคคล พนักงานให้ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และพนักงานมีใบอนุญาตจากกระทรวงสาธารณสุขที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการสปาที่นัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. กุลวรรณ โสติถิกุล. (2555). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการธุรกิจสปาของผู้บริโภควัยทำงาน ในเขตเทศบาลนคร จังหวัดลำปาง. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง.

2. เจี่ยลี่ หวง. (2560).ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีผลต่อการเลือกใช้บริการสปาในประเทศไทยของนักท่องเที่ยวชาวจีน. คณะบริหารธุรกิจ. มหาลัยวิทยาลัยเกษมบัณทิต.

3. ณัฐฐา สุขภักตร์. (2558).ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการสปาของผู้บริโภคเขตบางนา กรุงเทพ. คณะบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยเกริก.

4. ผกาพันธ์ อรพินท์เงิน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจบริการนวดแผนไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. (2541). พฤติกรรมผู้บริโภค.กรุงเทพฯ :ไทยวัฒนาพานิช.

5. อรทัย จันทรโร สุณีย์ ล่องประเสริฐ และนันทวรรณ ช่างคิด. (2558).พฤติกรรมการเลือกใช้บริการสปาของนักท่องเที่ยวในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. สาขาบริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี.

6. เอกพงษ์ ณรงค์ศักดิ์ และคณะ. (2559). ปัจจัยการเพิ่มผลผลิตของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภาคการตัดเย็บเสื้อผ้าสำเร็จรูปในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 2 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2559.

7. Herzberg.Frederick. (1959). The Motivation to work. New York: John Wiley and Sons.

8. Philip Kotler. (2016). Marketing Management. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า จำกัด.