13. ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย

Main Article Content

อัญรินทร์ ตันติอัครศักดิ์
วัชระ ยี่สุ่นเทศ

บทคัดย่อ

ปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจ
ในการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย เพื่อศึกษาระดับค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทยประชากรที่ใช้ในการศึกษา
คือ กลุ่มบุคคลทั่วไปที่มาเต้นลีลาศในกรุงเทพมหานคร จำนวน 107 รายใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล


ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงอายุ 47 ปี ขึ้นไปมีสถานภาพสมรส มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-30,000บาท และมีการศึกษาระดับปริญญาตรีกลุ่มบุคคลทั่วไปที่มาเต้นลีลาศในกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญต่อปัจจัยแรงจูงใจ ความต้องการของร่างกาย อยู่ในระดับมากที่สุด ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง ความต้องการความสำเร็จสูงสุด ความต้องการความปลอดภัย และความต้องการทางสังคม อยู่ในระดับมาก และมีค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย ด้านการใช้ชีวิตอย่างท้าทายด้านการเป็นคนสุภาพ ด้านการรักษาหน้าตาทางสังคม ด้านการยอมรับทางสังคม ด้านความมุ่งมั่นและด้านการใช้ชีวิตที่สนุกสนาน อยู่ในระดับมากผลการทดสอบสมมุติฐานพบว่า ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีเพศ อายุ สถานภาพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีผลต่อค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทยไม่แตกต่างกันและปัจจัยแรงจูงใจมีอิทธิพลต่อค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย
ผลการทดสอบพบว่า การเต้นลีลาศช่วยชะลอความเสื่อมของร่างกาย รู้สึกมั่นใจเมื่อได้เต้นลีลาศกับครูลีลาศมืออาชีพชื่นชอบในสถานที่เต้นลีลาศที่สะอาดและปลอดภัยมีความชื่นชอบที่จะออกงานสังคมลีลาศการเต้นลีลาศได้นั้นทำให้รู้สึกได้รับการยอมรับจากสังคมเพิ่มขึ้นการเต้นลีลาศทำให้เกิดมิตรภาพความสัมพันธ์อันดีการเต้นลีลาศมีส่วนช่วยในการส่งเสริมคุณค่าในตัวเองการเต้นลีลาศเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้ท่านสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ อยู่เสมอการเต้นลีลาศเป็นเกียรติยศอย่างหนึ่งในชีวิตรู้สึกสนุกสนาน ตื่นเต้น ทุกครั้งที่ได้เต้นลีลาศความภูมิใจและสุขใจทุกครั้งที่ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ด้านการเต้นลีลาศให้แก่บุคคลอื่น มีความสุขทั้งกายและใจทุกครั้งที่ได้เต้นลีลาศ อาชีพครูสอนลีลาศเป็นอาชีพที่มีความมั่นคงครูสอนลีลาศเป็นอาชีพที่มีรายได้ดี และการเต้นลีลาศทำให้ท่านมีความภาคภูมิใจต่อตนเองมีอิทธิพลต่อค่านิยมการเต้นลีลาศเพื่อสุขภาพในสังคมไทย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. เจษฎา มีช้าง. (2560). การศึกษาการให้บริการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ อาคารปราบไตรจักร มหาวิทยาลัยนเรศวร.วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล ปีที่ 3 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560. วิทยาลัยสันตพล อุดรธานี.

2. ณัฐธิดา ช่างต่อ. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดใจสินเลือกคอนเทนต์การออกกำลังกายด้วยการเต้นของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

3. ดาวรรณ สมบูรณ์วรรณะ. (2558). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจใช้บริการสถานออกกำลังกายขนาดใหญ่ (Fitness Center) ของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

4. นรเศรษฐ กมลสุทธิ และคณะ. (2549). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจสมัครสมาชิกฟิตเนสเซ็นเตอร์. วิทยานิพนธ์.สาขาวิชาการตลาด.มหาวิทยาลัยสยาม.

5. ปกรณ์ วงศ์สวัสดิ์ และ อิทธิกร ขำเดช. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการของศูนย์ออกกำลังกายของผู้บริโภคในเขตหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการบริหารธุรกิจฉบับที่ 2 เมษายน-มิถุนายน.

6. สุธรรม พงศ์สำราญ. (2559). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.

7. วิโรจนี พรวิจิตรจินดา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานออกกำลังกาย กรณีศึกษาทรู ฟิตเนส และ ฟิตเนสเฟิรส์ท.วิทยานิพนธ์คณะเศรษฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

8. สืบสกุล ใจสมุทร. (2554). แรงจูงใจในการออกกำลังกายของประชาชนในจังหวัดสตูล ปี พ.ศ. 2553. กรุงเทพ.วิทยานิพนธ์.บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

9. อุทิศ ศิริวรรณ(ผู้แปล). (2549). การจัดการการตลาดฉบับเอเชีย.กรุงเทพฯ: บริษัทเพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อิโดไชน่า จำกัด.