1. บทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู

Main Article Content

จุฑาภรณ์ คงรักษ์กวิน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู และ 2) เปรียบเทียบบทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู กรุงเทพมหานคร จำนวน 121 นาย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น 0.962 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปร 2 ตัวแปรที่เป็นอิสระต่อกัน และค่าเอฟ (F-test) โดยวิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


                ผลการวิจัยพบว่า 1) บทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.41) พิจารณาแต่ละด้านพบว่า ข้าราชการตำรวจมีความคิดเห็นต่อบทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู อยู่ในระดับมากทุกข้อ 2) ผลการเปรียบเทียบบทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู ทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความแตกต่างตัวแปร พบว่า อายุ ระดับการศึกษา ชั้นยศ และอายุราชการ มีผลให้บทบาทในการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดของข้าราชการตำรวจ สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลูไม่แตกต่างกัน จึงปฏิเสธสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กองบังคับการตำรวจนครบาล 9. (2560). ข้อมูลข่าวสารท้องถิ่นงานป้องกันอาชญากรรม. สถานีตำรวจนครบาลหนองค้างพลู กองบังคับการตำรวจนครบาล. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2560. จาก https://thaimetropolicediv9.com/?page_id=13.
[2] กิตติ ลิ้มชัยกิจ. (2541). สาเหตุความล่าช้าในการตรวจพิสูจน์ยาเสพติด ศึกษาเฉพาะกรณีสถานตรวจพิสูจน์ในส่วนกลาง. หลักสูตรผู้บริหารกระบวนการยุติธรรมระดับสูง (บ.ย.ส.) รุ่นที่ 3. วิทยาลัยการยุติธรรมกระทรวงยุติธรรม.
[3] คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. (2561). รายงานผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ประจำปีงบประมาณ 2561. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2562. จาก https://www.oncb.go.th/EBook library
[4 ] เดชรพี คงดี. (2546). การคุ้มครองพยานบุคคลในคดีอาญาในชั้นสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปราม.วิทยานิพนธ์สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต. คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[5] บรรจง สายวงค์. (2557). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดในเขตตำบลสร้อย อำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการบริหารท้องถิ่น. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
[6] ประพัทธ์ แกลงกระโทก (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามยาเสพติดของเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัดตำรวจภูธรจังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 4 ตุลาคม 2562. จาก file:///C:/Users/ADMIN/Downloads/82630-Article%20Text-200145-1-10-20170410.pdf.
[7] วรรณชัย สุขเจริญ. (2557). บทบาทของวัดไร่ขิงที่มีผลต่อการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในเขตตำบลไร่ขิง อำเภอ
สามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.