9. ศักยภาพการได้รับจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

visit srikaew
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

บทคัดย่อ

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องพึ่งพิงเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ในขณะที่รัฐบาลมิได้จัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างทั่วถึง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการขอรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ และเพื่อศึกษาเงื่อนไขที่ส่งผลให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ การวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบกรณีศึกษาหลายกรณีแบบองค์รวม โดยศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 4 แห่งในจังหวัดขอนแก่น โดยสองแห่งได้รับการจัดสรรอยู่เป็นประจำ และอีกสองแห่งมักไม่ได้รับการจัดสรร พิจารณาจากข้อมูลการได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น ปีงบประมาณ 2561, 2559 และ 2558 ซึ่งจะเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จากผู้ที่ปฏิบัติงานภายในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำแหน่งต่าง ๆ


            ผลการศึกษาพบว่า แม้ว่ากระบวนการขอรับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจที่เป็นวิธีการเดียวกัน แต่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับการจัดสรรเงินอุดหนุนเฉพาะกิจอยู่เป็นประจำ จะมีกลไกกำกับติดตามและมีความต่อเนื่องในการส่งข้อเสนอโครงการมากกว่า  เงื่อนไขที่ทำให้ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ ประกอบด้วย เงื่อนไขภายในและเงื่อนไขภายนอก โดยเงื่อนไขที่ผู้ให้ข้อมูลหลักเห็นตรงกันว่าสำคัญที่สุด คือ จำนวนของบุคลากรและประชากรที่อยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  การวิจัยนี้ช่วยให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นมีแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงวิธีการในการดำเนินงานให้ได้รับเงินอุดหนุนเฉพาะกิจมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ในการจัดทำบริการสาธารณะแก่ประชาชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] จิรายุ โชติศิลากุล และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2562). ผลการดำเนินงานด้านการเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, วารสารการบริหารท้องถิ่น. 12(2); 212. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
[2] ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์ และ ดารุณี พุ่มแก้ว. (2560). เงินอุดหนุนเฉพาะกิจและความเหลื่อมล้ำการคลังท้องถิ่นในประเทศไทย, วาสารสถาบันพระปกเกล้า. 15(1); 120-122. เอ.พี. กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.
[3] วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2554). ความเหลื่อมล้ำทางการคลังของเทศบาล: บทสำรวจปรากฏการณ์ “ใครมีเงินมากยิ่งได้มาก”. วารสารเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ. 2(4); 34-35. สำนักวิชาเศรษฐศาสตร์และนโยบายสาธารณะ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
[4] สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2561). รายได้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2561. จาก https://www.odloc.go.th/web/?page_id=4819
[5] สิริศักดิ์ อาจวิชัย. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. เอกสารประกอบ การฝึกอบรมโครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) รุ่นที่ 4. ชัยภูมิ: มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
[6] ศิริขวัญ โสดา. (2562). การกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบทั่วไป กรณีศึกษาการกู้ยืมเงิน. วาสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล. 5(1); 20. โรงพิมพ์ภาคอีสานการพิมพ์(999).
[7] กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2562). แนวทางการปฏิบัติในการบริหารงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. (มท o๘๑o.๘/ว๓๑๓๘).
[8] สำนักงบประมาณ. (2562). การจัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณและจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562. (นร o๗o๒/ว๑๓๔).
[9] ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์. (2559). การคลังท้องถิ่น : การขยายฐานรายได้และมาตรการลดความเหลื่อมล้ำ. กรุงเทพฯ. บริษัท ซัน แพคเกจจิ้ง จำกัด.
[10] สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดขอนแก่น. (2562). รายงานเงินอุดหนุนเฉพาะกิจ.