10 การศึกษาการดำเนินงานและการตอบสนองความต้องการของประชาชนของโครงการประชารัฐ ในจังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

ภูบดินทร์ วรชินา
กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานของโครงการประชารัฐในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อประเมินโครงการประชารัฐในจังหวัดขอนแก่นในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน 3) เพื่อให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการประชารัฐในจังหวัดขอนแก่นในการแก้ปัญหาและตอบสนองความต้องการของประชาชน ผู้วิจัยทำการศึกษาโครงการของ บริษัท ประชารัฐรักสามัคคีขอนแก่น(วิสาหกิจเพื่อสังคม) จำกัด จังหวัดขอนแก่น โดยใช้การวิจัยแบบกรณีศึกษาหลายกรณีแบบองค์รวม และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารบริษัทประชารัฐรักสามัคคีขอนแก่น และประชาชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ


ผลการศึกษาพบว่า การขับเคลื่อนนโยบายประชารัฐโดยบริษัท จะมีบริษัทประชารัฐรักสามัคคีจังหวัดเป็นผู้ดำเนินเรื่องการตลาด ดูแลกระบวนการผลิต โดยร่วมกับคณะทำงานของภาครัฐ และการมีส่วนร่วมของเครือข่ายประชารัฐจะมีการร่วมกันในลักษณะการเข้าร่วมเป็นหุ้นส่วนของบริษัท โดยการลงหุ้นตามสัดส่วนที่ได้กำหนดไว้และแต่ละภาคส่วนก็จะสนับสนุนการทำงานตามความสามารถและความถนัดของตน ซึ่งเมื่อพิจารณาจากผลการดำเนินการของบริษัท พบว่า บริษัทได้มีบทบาทค่อนข้างสำคัญในการเข้าไปให้ความช่วยเหลือชุมชนและประชาชนในพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานของบริษัทยังมีปัญหาบางประการ เช่น ปัญหาการดำเนินงานร่วมกับภาครัฐ ปัญหาความเชื่อมโยงกับภาคประชาชน ปัญหาด้านงบประมาณ ซึ่งเป็นอุปสรรคทำให้โครงการดังกล่าวยังไม่สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนส่วนใหญ่ได้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ เพราะมีเพียงบางพื้นที่หรือบางกลุ่มเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ ดังนั้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงเป็นประโยขน์ต่อการปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นกับนโยบายในลักษณะเดียวกันเพื่อพัฒนานโยบายสาธารณะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

[1] กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). คู่มือการดำเนินงานโครงการประชารัฐ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
[2] กรมประชาสัมพันธ์. (2559, พฤษภาคม). สานพลังประชารัฐ. จดหมายข่าวจากรัฐบาลเพื่อประชาชน, 2(26) 1-12.
[3] กรรณิการ์ สุขเกษม. (2546). การจัดระเบียบข้อมูลทางรัฐศาสตร์ ใน เอกสารการสอนชุดวิชาหลักและวิธีวิเคราะห์ทางการเมืองสมัยใหม่. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 411.
[4] กัญจนา ลินทรัตนกูล และวรรณภา โพธิ์น้อย. (2544). สถิติและการวิจัยทางสังคมศาสตร์, นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 136-137.
[5] คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. (2558). คู่มือประชารัฐรักสามัคคี. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
[6] ณัฏฐิมา มากชู. (2545). การประเมินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน(กข.คจ.)ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยใช้งบประมาณพิเศษปี 2544 ตามแผนก่อหนี้ต่างประเทศ ศึกษาเฉพาะกรณีจังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม), สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
[7] ธันภัทร โคตรสิงห์. (2560). ประชารัฐ: จากแนวคิดการบริหารสู่แนวทางปฏิบัติในปัจจุบัน. วารสารพัฒนาสังคม, 19(1), 173-206.
[8] นพพล อัคฮาด, (2559). กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำบริการสาธารณะระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับคณะทำงานชุมชนบนพื้นฐานแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่: กรณีศึกษาโครงการชุมชนตัวอย่างวัฒนธรรมสันติวิธีตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 9(1), 77-80.
[9] ประชาชาติธุรกิจ. (2561, 14 พฤษภาคม). พัฒนาชุมชนแจง “บ.ประชารัฐ” 77 จังหวัดไร้ปัญหา. สืบค้นเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-157719.
[10] ไวพจน ดวงจันทร จุฑามาส ทองบัวรวงและภูมิพัฒน ชมพูวิเศษ. (2558). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑเพื่อเพิ่มมูลคาสินคา จากการตอยอดภูมิปญญาทองถิ่น ประเภทของที่ระลึก : กรณีศึกษาแหลงมรดกโลกบานเชียง ตําบลบานเชียง อําเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 1(2), 5-6.
[11] ศศิธร ทองจันทร์. (2559). การบริหารกิจการบ้านเมืองแบบร่วมมือกันกับการขับเคลื่อนนโยบายภาครัฐไทย กรณีศึกษาโครงการความร่วมมือเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน จังหวัดพิษณุโลก, การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาบริหารรัฐกิจ, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[12] สมใจ สังข์แสตมป์. (2554). การปรับเปลี่ยนบทบาทภาครัฐไทยกับการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
[13] สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2559). มติคณะรัฐมนตรี เรื่อง กลไกประชารัฐ วันที่ 12 มกราคม 2559. สืบค้นเมื่อ 14 ตุลาคม 2561 จาก https://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=99317645.
[14] สิริศักดิ์ อาจวิชัย. (2559). การวิจัยเชิงคุณภาพ. การฝึกอบรมโครงการสร้างนักวิจัยรุ่นใหม่ (ลูกไก่) ครั้งที่ 4. 27 กรกฎาคม 2559. โรงแรมลา วิลลา จังหวัดขอนแก่น.
[15] Pestoff V. & Brandsen T. (2010). Public governance and the third sector: Opportunities for co-production and innovation. London: Routledge.
[16] Yin R. K. (2014). Case study research: Design and methods (5th ed.). Thousand Oaks, CA: SAGE Publications.