หนู: พาหะนำโรคที่สำคัญทางการแพทย์

Main Article Content

นพคุณ ภักดีณรงค์
ญาณิศา นราพงษ์

บทคัดย่อ

หนูเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคที่สำคัญที่เป็นปัญหาทางสาธารสุขทั่วโลก ซึ่งสามารถแพร่กระจายเชื้อมายังมนุษย์และสัตว์เลี้ยงได้อย่างรวดเร็ว เช่น โรคที่เกิดจากไวรัส คือ ฮันตาไวรัส (Hantavirus Pulmonary Syndrome) ส่วนโรคที่เกิดจากแบคทีเรีย ได้แก่ โรคฉี่หนู (Leptospirosis) กาฬโรค (plague) สครัปไทฟัส (scrub typhus) และมิวรีนไทฟัส (murine typhus) และโรคที่เกิดจากหนอนพยาธิ ได้แก่ โรคพยาธิใบตับ (Opisthorchiasis) โรคพยาธิตัวบวม (Trichinosis) และโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Angiostrongyliasis) เป็นต้น     ซึ่งมนุษย์สามารถติดเชื้อได้ 2 ทาง คือ การติดเชื้อทางตรง เช่น ถูกกัด รับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนอุจจาระของหนูที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อ และสามารถติดต่อทางพื้นดินจากการสัมผัส ขณะที่การติดเชื้อทางอ้อม ได้แก่ การรับประทานกลุ่มปรสิตภายนอก (ectoparasite) เช่น เห็บ ไร เหา และหมัด รวมทั้งรับประทานโฮสต์กึ่งกลาง เช่น หอยน้ำจืด และโฮสต์พาราทีนิก เช่น กุ้ง ปู และลูกอ๊อดที่มีพยาธิระยะติดต่อโดยบังเอิญ จึงทำให้มีการแพร่กระจายเชื้อในมนุษย์สูงขึ้น ดังนั้นการป้องกันในการเกิดโรคเหล่านี้ควรทำความสะอาดบริเวณบ้านเป็นประจำ รับประทานอาหารที่ปรุงสุก และให้ความรู้กับประชาชนในการป้องกันการติดเชื้อจากหนูสู่มนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย