ผลของอัตราส่วนยางและแป้งต่อสมบัติของไฮโดรเจลชนิดพอลิเมอร์เชื่อมขวาง แบบกึ่งโครงร่างตาข่ายและการประยุกต์ใช้ในการปลูกดาวเรือง

Main Article Content

ชัยวุฒิ วัดจัง

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เตรียมไฮโดรเจลเชื่อมขวางแบบกึ่งโครงร่างตาข่าย (Semi-Interpenetrating polymer network; Semi-IPN) ของยางธรรมชาติ (Natural rubber; NR) และแป้งมันสำปะหลัง (Cassava starch; St) (Semi-IPN NR/St) ด้วยวิธีการผสมน้ำยางข้นและแป้งมันสำปะหลังที่ผ่านการเจลาติไนซ์ โดยใช้โพแทสเซียมเปอร์ซัลเฟต (Potassium persulphate) และ N,N’-methylene-bis-acrylamide (MBA) เป็นตัวริเริ่มปฎิกิริยาและสารเชื่อมขวาง ตามลำดับ จากการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างยางธรรมชาติและแป้งมันสำปะหลัง (NR/St) ต่อสมบัติการดูดซึมน้ำและประสิทธิภาพในการใช้งานของ Semi-IPN NR/St พบว่า เปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำมีความสัมพันธ์กับอัตราส่วน NR/St โดยเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำของ Semi-IPN NR/St เพิ่มขึ้น แต่ประสิทธิภาพในการใช้งานลดลง เมื่อเพิ่มอัตราส่วนของ St และค่าเปอร์เซ็นต์การดูดซึมน้ำสูงสุดประมาณ 140 เปอร์เซ็นต์ ปรากฏที่อัตราส่วน NR/St ที่ 30/70 ในขณะที่เสถียรภาพในการใช้งานลดลง เมื่อเพิ่มอัตราส่วนของ St

 

Effects of Rubber/Starch Ratio on the Properties of Hydrogel Semi-interpenetrating Polymer Network and Marigold Planting Application

Semi-interpenetrating polymer network (Semi-IPN) hydrogel of natural rubber and cassava starch (Semi-IPN NR/St) were prepared by blending concentrated natural rubber latex and gelatinized cassava starch using potassium persulphate and N, N’-methylene-bis-acrylamide (MBA) as an initiator and a crosslinking agent respectively. The influence of the natural rubber and cassava starch ratio (NR/St) on the water absorption and using efficiency properties of Semi-IPN NR/St were investigated. The results showed that the water absorption and the usage stability properties of the Semi-IPN NR/ST were a ratio of natural rubber and cassava starch. The percentage of the water absorption of Semi-IPN NR/St increased with increasing St ratio. The highest percentage of the water absorption of Semi-IPN NR/St was ca. 140% at 30/70 of NR/St ratio, while the using efficiency decreased with increasing St ratio.

Article Details

บท
บทความวิจัย