คุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหารปรุงสำเร็จในโรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Main Article Content

บุญเลี้ยง สุพิมพ์
ปิยะพงษ์ ชุมศรี
อรทัย ปานเพชร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของอาหารปรุงสำเร็จที่จำหน่ายในโรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม 2554 โดยสุ่มเก็บตัวอย่างอาหาร จำนวน 23 ตัวอย่าง จากร้านจำหน่ายอาหาร 5 ร้าน เพื่อตรวจหาจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด โดยวิธี Aerobic plate count โคลิฟอร์มแบคทีเรีย Escherichia coli โดยวิธี MPN ยีสต์ และรา โดยวิธี Standard pour plate วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีหาความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า มีตัวอย่างอาหารที่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 73.91(17/23) และมีตัวอย่างอาหารที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 26.09(6/23) สาเหตุที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ในตัวอย่างอาหารปรุงสำเร็จมีเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 17.39(4/23) E.coli คิดเป็นร้อยละ 21.74(5/23) ยีสต์ คิดเป็นร้อยละ 8.70(2/23) และเชื้อรา คิดเป็นร้อยละ 4.35(1/23) ดังนั้นโรงอาหารในมหาวิทยาลัยควรปรับปรุงคุณภาพของอาหารให้ถูกสุขลักษณะเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค

 

คำสำคัญ: คุณภาพทางจุลชีววิทยา อาหารปรุงสำเร็จ โรงอาหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

 

Abstract

            Microbiological quality of ready to eat foods in Loei Rajabhat University Canteen was evaluated during August to October, 2011. A total of 23 foods were sampled from 5 restaurants. Aerobic plate count was used for analyzing the total bacteria, MPN (Most Probable Number) method was analyzed of quality of coliform bacteria and E. coli, and the Standard pour plate was used for analyzing the Yeast and Mold. The data were analyzed by frequency and percentage. The results showed that 73.91% (17/23) of ready to eat food samples had microbiological quality within acceptable limits. 26.09% (6/23) of ready to eat food samples had microbiological quality above acceptable limits. The ready to eat food samples had coliform bacteria, E. coli, Yeast and Mold contamination 17.39% (4/23), 21.74% (5/23), 8.70% (2/23), and 4.35% (1/23) respectively. Thus, the canteen in University should improve food and personal hygiene for consumer’s safety.

 

Keywords: Microbiological quality; ready-to-eat foods; Loei Rajabhat University Canteen

Article Details

บท
บทความวิจัย