ผลของโปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและอัตรารอดของปลาหมอ

Main Article Content

เมธาวี รอตมงคลดี
วัฒนะ ลีลาภัทร
วิภาวี ไทเมืองพล

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

            การศึกษาผลของโปรไบโอติกต่อการเจริญเติบโตและอัตราการรอดตายของปลาหมอ วางแผนการทดลองแบบสุ่มตลอด โดยใช้โปรไบโอติกผสมอาหารเม็ดสำเร็จรูปในอัตราส่วนแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 0, 0.5, 1 และ 1.5 เปอร์เซ็นต์ แต่ละชุดการทดลองมี 3 ซ้ำ เลี้ยงเป็นเวลา 90 วัน พบว่า น้ำหนักและความยาวเฉลี่ยแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ปลาหมอที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมโปรไบโอติกมีน้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงกว่าชุดควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาหมอที่ได้รับอาหารผสมโปรไบโอติก 1.5 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 1.63 ± 0.04 ซึ่งต่ำกว่าชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.05) อัตราการรอดตายในแต่ละชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ส่วนค่าพารามิเตอร์ด้านคุณภาพน้ำต่างๆ ระหว่างการเลี้ยงพบว่า อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ และค่าแอมโมเนียรวมระหว่างการเลี้ยงในทุกชุดการทดลองไม่แตกต่างกันทางสถิติ (P > 0.05) ดังนั้น การเสริมโปรไบโอติก 1.5 เปอร์เซ็นต์ ผสมอาหารมีแนวโน้มเพิ่มการเจริญเติบโตและเพิ่มประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของปลาหมอได้

 

คำสำคัญ: ปลาหมอ โปรไบโอติก อัตราการเจริญเติบโต อัตรารอด

 

Abstract

            This study examined probiotics on growth performance and survival rate in Anabas testudineus. The experiment was randomized using probiotics contained in pelleted diets with four levels of 0, 0.5, 1 and 1.5 percent feed for 90 days. Each treatment had 3 replications. The result showed that the average weight and average length were not significantly different (P > 0.05) between treatments. Weight gain, average daily gain and specific growth rate of fish fed with diet containing probiotics were higher than the control group (P < 0.05). Feed with diet containing probiotics at 1.5 percent had the lowest feed conversion ratio (P < 0.05) at 1.63 ± 0.04. There were no significant differences (P > 0.05) in survival rate between treatments. For water quality parameters such as temperature, pH, dissolved oxygen and total ammonia during feed for 90 days in all the treatments were not significantly different (P > 0.05). The results indicate that feed with diet containing probiotics at 1.5 percent tend to improve growth performance and feed conversion ratio. 

 

Keywords: Anabas testudineus; Probiotics; Growth rate; Survival rate

Article Details

บท
บทความวิจัย