การสังเคราะห์กรดแลคติกจากกลีเซอรอล

Main Article Content

วงศ์นรา เงินคีรี
ภิเษก รุ่งโรจน์ชัยพร

Abstract

บทคัดย่อ


ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซลซึ่งเป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน จะได้
ผลิตภัณฑ์ร่วมคือกลีเซอรอลซึ่งทั่วโลกนั้นมีการผลิตกลีเซอรอลออกมาเป็นจํานวนที่มากเกินกว่าความ
ต้องการในปริมาณมากทําให้ราคาของกลีเซอรอลมีแนวโน้มที่จะลดลงและอาจเกิดปัญหาทางสิ่งแวดล้อมได้
หากมีการนํากลีเซอรอลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีมูลค่าสูงขึ้นจะสามารถแก้ปัญหาปริมาณ
กลีเซอรอลที่มีมากเกินความต้องการได้ กรดแลคติกถือเป็นสารที่มีความสําคัญในกระบวนการอุตสาหกรรม
หลายประเภทและยังใช้สังเคราะห์พอลิแลคติกที่เป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ โดยบทความนี้ได้
รวบรวมข้อมูลในการสังเคราะห์กรดแลคติกจากกลีเซอรอลที่ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา และสภาวะในการทดลองที่
ต่างกันจากงานวิจัยต่าง ๆ เช่น ตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์ (Homogeneous catalyst) ตัวเร่งปฏิกิริยา
วิวิธพันธุ์ (Heterogeneous catalyst) เป็นต้น


คําสําคัญ : ไบโอดีเซล , กลีเซอรอล , กรดแลคติก , พอลิแลคติก , ตัวเร่งปฏิกิริยาเอกพันธุ์ , ตัวเร่งปฏิกิริยาวิวิธพันธุ์


Abstract


Glycerol is a major by-product of biodiesel production. As a result of biodiesel
growth, large amounts of glycerol are produced which worldwide exceeds the demand.
The price of glycerol is likely to decline and may cause problems. Development of valueadded chemicals from glycerol, such as lactic acid during biodiesel production, is
necessary to help sustain the biodiesel industry. Lactid acid (LA) is a substance that is
important in many industrial processes, lactic acid is the building block for the synthesis of
polylactic acid (PLA) which is one of the best materials for biodegradable plastics. This
article is titled the synthesis of lactic acid from glycerol using all known catalyst types.
The experimental conditions are covered and differences in research such as
homogeneous catalyst and heterogeneous catalyst.


Keywords : Biodiesel, Glycerol, Lactic acid, Polylactic acid, homogeneous catalyst, heterogeneous catalyst

Article Details

How to Cite
เงินคีรี ว., & รุ่งโรจน์ชัยพร ภ. (2017). การสังเคราะห์กรดแลคติกจากกลีเซอรอล. Journal of Science Ladkrabang, 26(1), 72–86. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/91598
Section
Research article