การกำจัดสี ความขุ่นและซีโอดีในนํ้าเสียจากการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี ที่ใช้หมึกพิมพ์ฐานนํ้าด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน

Main Article Content

สปันนา นวลสอาด
อุสารัตน์ ถาวรชัยสิทธิ์

Abstract

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการบำบัดน้ำเสียจากการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟีที่ใช้หมึกพิมพ์ฐานนํ้าด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอนโดยใช้เฟอร์ริคคลอไรด์เป็นโคแอกกูแลนต์ ทำการศึกษาผลของปริมาณเฟอร์ริคคลอไรด์และพีเอช ต่อการกำจัดสี ความขุ่น และซีโอดีจากน้ำเสียที่มีหมึกพิมพ์ฐานน้ำโดยใช้เครื่องมือจาร์เทสต์ ผลการศึกษาพบว่าสภาวะที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดสี ความขุ่น และซีโอดีในน้ำเสียคือ ปริมาณเฟอร์ริคคลอไรด์เท่ากับ 0.5 กรัมต่อลิตร และพีเอชเริ่มต้นของน้ำเสียเท่ากับ 8 ประสิทธิภาพในการกำจัดสี ความขุ่น และซีโอดีที่สภาวะดังกล่าวมีค่าเท่ากับ 97.4, 98.9 และ 54.6% ตามลำดับ โดยสี ความขุ่นและซีโอดีในน้ำที่ผ่านการบำบัดมีค่าเท่ากับ 78.3±41 ADMI, 42.3±26 NTU และ 1,993.3±252 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ากระบวนการสร้างและรวมตะกอนโดยใช้เฟอร์ริคคลอไรด์สามารถกำจัดสีในน้ำเสียได้อย่างมีประสิทธิผล และสามารถใช้เป็นกระบวนการบำบัดเบื้องต้นเพื่อลดปริมาณสารอินทรีย์ในน้ำเสียได้


 คำสำคัญ : โคแอกกูเลชัน ฟล็อกคูเลชัน การพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟีหมึกพิมพ์ฐานน้ำ


          This research was conducted to investigate the treatment of wastewater from flexographic printing using water-based ink through coagulation and flocculation process using ferric chloride as a coagulant. Effects of ferric chloride dosage and pH on the removal of color, turbidity and COD from water-based printing ink wastewater were investigated using a standard jar test apparatus. The result showed that the optimum process condition for the maximum removal of color, turbidity and COD were found to be as follows: ferric chloride dosage of 0.5 g/L and pH of 8. At the reported conditions, the removal percentages of color, turbidity and COD are 97.4, 98.0 and 54.5%, respectively. Color, turbidity and COD in the effluent were 78.3±41 ADMI, 42.3±26 NTU and 1,993.3 ± 252 mg/L, respectively. The results clearly indicate that coagulation and flocculation by ferric chloride are more effective in removal of color in wastewater and can be used as pretreatment process to reduce organic content in wastewater.


 Keywords: Coagulation, Flocculation, Water-based flexographic printing process

Article Details

How to Cite
นวลสอาด ส., & ถาวรชัยสิทธิ์ อ. (2018). การกำจัดสี ความขุ่นและซีโอดีในนํ้าเสียจากการพิมพ์ระบบเฟล็กโซกราฟี ที่ใช้หมึกพิมพ์ฐานนํ้าด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน. Journal of Science Ladkrabang, 27(1), 18–27. Retrieved from https://li01.tci-thaijo.org/index.php/science_kmitl/article/view/130747
Section
Research article