ความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการบริโภคในชีวิตประจำวันของนิสิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Main Article Content

สุณีรัตน์ ยั่งยืน
ธิดารัตน์ สมดี
อุดมศักดิ์ มหาวีรวัฒน์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบภาคตัดขวาง (Cross - sectional analytic study) เพื่อศึกษาความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการบริโภคในชีวิตประจำวัน ของนิสิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ดำเนินการศึกษาในนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบริโภคในชีวิตประจำวันในกลุ่มเรียนที่ 1 และ 2 ของภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 ตามหลักสูตรระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 200 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสนทนากลุ่มโดยใช้เทคนิค FGD (Focus GroupDiscussion) สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent t-test และ One WayANOVA

ผลการศึกษา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.0 มีอายุเฉลี่ย 19 ปี เป็นนิสิตกลุ่มคณะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 70.0 ค่าใช้จ่ายที่นิสิตได้รับต่อเดือนเฉลี่ย 4,919.50 บาท มีความเพียงพอต่อการใช้จ่าย ร้อยละ 81.5เหตุผลในการเลือกเรียนวิชานี้คือ มีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ร้อยละ 83.5 มีความสนใจในเนื้อหาวิชา ร้อยละ71.5 สำหรับความคาดหวังต่อการเรียนการสอน พบว่านิสิตส่วนใหญ่มีความคาดหวังมากที่สุดในประเด็นที่ว่า เนื้อหาวิชาสามารถนำไปประยุกต์กับสถานการณ์จริงได้ ร้อยละ 55.0 กิจกรรมการเรียนการสอนเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ร้อยละ 54.0 อาจารย์มีเทคนิควิธีการสอนที่หลากหลาย ร้อยละ 49.0 บรรยากาศในการเรียนกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจในการเรียน ร้อยละ 50.5 เอกสารประกอบการสอนใช้ภาษาน่าอ่าน สื่อความหมายชัดเจน ร้อยละ 57.0 ใช้สื่อการสอนที่ทันสมัย หลากหลาย ร้อยละ 53.0 มีการวัดผลและประเมินผลด้วยวิธีที่หลากหลายและเหมาะสม ร้อยละ 50.5 วิชานี้มีประโยชน์สามารถนำไปปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวันร้อยละ 64.5 เมื่อเปรียบเทียบความคาดหวังต่อการจัดการเรียนการสอนระหว่างเพศ และคณะที่เรียน พบว่า นิสิตชายและหญิงมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังทุกด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนนิสิตที่สังกัดกลุ่มคณะต่างกันมีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวังในด้านเนื้อหาวิชาด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านลักษณะอาจารย์ผู้สอน และด้านสภาพทั่วไปและสิ่งแวดล้อมในการเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.048, p=0.026, p=0.019 และ p=0.030 ตามลำดับ)

ผลการศึกษาครั้งนี้พบว่า ความคาดหวังของนิสิตในเรื่องการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการบริโภคในชีวิตประจำวันทำให้ได้ข้อมูลสำหรับการวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนมากขึ้น ดังนั้นมหาวิทยาลัยควรดำเนินการศึกษาความคาดหวังและความพึงพอใจของนิสิตในด้านต่างๆ หรือในรายวิชาอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อไห้ได้ข้อมูลสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของนิสิตอย่างแท้จริงได้

คำสำคัญ : ความคาดหวัง วิชาการบริโภคในชีวิตประจำวัน

 

Abstract

This cross sectional analytic study is aimed at investigating the expectation level involving two hundred tests usingsimple random sampling of Mahasarakham University under graduate students who are enrolled in section one and twoof the Consumption in Daily Life Course. The designed questionnaire and focus group discussion (FGD) techniques were a collection of data tools while frequency, per-centage, mean, median, standard deviation, independent t-testand One Way ANOVA statistical interpretation were applied.

The results were mostly from females (74.0%), with a median age of 19 years. Seventy per-cent were fromthe faculty of humanity and sociology. Student allowance received was averaged at 4,919.50 baht monthly with 81.5per-centage suffi ciency for their expenditures, and 83.5% usefulness for daily living, 71.5% were interester in thecontent of this course. 55.0% showed the greatest expectation in the issue of “daily living application”, 54.0% perceivedstudent center activities, 49.0% revealed various techniques of teaching, 50.5% revealed an induced learningatmosphere encouraging self motivated learning, 57.0% saw language context and illustration plus readable teachingdocuments, 53.0% got various up to date teaching media, 50.5% received various means of appropriate evaluation,64.5% perceived this course useful in daily living. The comparison expectation between sex and faculty of thisteaching management found no statistically signifi cant difference in all dimension expectations score between bothmale and female students. There is a statistically signifi cant differences among the faculty student group expectationsscore in categories of as content, learning activity, instructors characteristics, and general learning environment(p=0.048, p=0.026, p=0.019 and p=0.030 respectively).

Keywords : Expectation, Consumption in daily life course

Article Details

บท
Original Articles