การยอมรับและวัฒนธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในองค์การภาครัฐของ ประเทศไทย

Main Article Content

สุทธิลักษณ์ ชนะสุข
ประสงค์ ปราณีตพลกรัง
วิไลลักษณ์ สุวจิตตานนท์
ปิยะวัฒน์ จิระพงษ์สุวรรณ
ประณต บุญไชยอภิสิทธิ์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาวัฒนธรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารหรือไอซีที ในองค์การภาครัฐของประเทศไทยซึ่งจะส่งผลให้การนำไอซีทีมาใช้ด้วยการตระหนักถึงความเหมาะสม คุ้มค่า และ ประสบความสำเร็จ ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสม (Mixed Research) แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ 1. การใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรที่ทำงานในสำนักปลัดกระทรวงทั้ง 20 กระทรวง จำนวน 448 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบโควตา2. การใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 ท่าน และ 3. การใช้แบบประเมินวัฒนธรรมไอซีทีและแบบประเมินวัฒนธรรมองค์การในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง จาก 20กระทรวง การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย 1.การวิเคราะห์ค่าจากแบบจำลองสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling)2. การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และ 3. การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และหาค่าเฉลี่ยระดับของวัฒนธรรมไอซีที ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์และส่งผลให้เกิดการยอมรับการใช้ไอซีทีในองค์การภาครัฐ ประกอบด้วย วัฒนธรรมองค์การการรับรู้ประโยชน์และความง่าย และพฤติกรรมการประยุกต์ใช้ไอซีที ซึ่งวัฒนธรรมไอซีที ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การมีส่วนร่วมผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ ความพร้อมใช้งานของไอซีที สมรรถนะด้านไอซีที การปลูกจิตสำนึก และ ความตระหนักโดยผลการประเมินผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศระดับสูง มีความเห็นว่าองค์การภาครัฐมีวัฒนธรรมไอซีทีที่สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกับวัฒนธรรมองค์การ

คำสำคัญ: วัฒนธรรมไอซีที การยอมรับเทคโนโลยี ไอซีทีในองค์การภาครัฐของประเทศไทย

 

Abstract

This research was intended to study the culture of information and communication technology (ICT) in Thai public organizations, taking into consideration the suitability, efficiency, and effectiveness of its use. A mixture of research methodologies was applied. The research was divided into three sections: 1) using a questionnaire to gather data from 448 personnel of the Office of the Permanent Secretary of 20 ministries, selected by means of quota sampling,2) using a focus group discussion to gather data from 10 specialists, and 3) using an evaluation form regarding ICT culture and organizational culture to gather data from the Chief Information Officers (CIOs) of 20 ministries. The data was analyzed by means of 1) structural equation modeling (SEM), 2) content analysis, and 3) analysis of the relation and the mean level of ICT culture. The research found that the factors affecting the acceptance of ICT use in Thai public organizations were organizational culture, perception of ICT’s benefit and ease of use, and the way ICT was utilized. ICT culture consisted of 5 aspects: e-participation, availability, ICT competency, conscious cultivation, and awareness. The Chief Information Officers expressed that the ICT culture of Thai public organizations reflected their organizational culture.

Keywords: ICT Culture, ICT Acceptance, ICT in Thai Public Organizations

Article Details

บท
Original Articles