ทิศทางวิธีการการวินิจฉัยที่ทันสมัยของโรคเท้าช้างในคน

Main Article Content

ต้องจิตร ถันชมนาง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

โรคเท้าช้าง (Lymphatic fi lariasis) เกิดจากพยาธิตัวกลมในกลุ่มฟิลาเรียคือ Wuchereria bancrofti, Brugia malayi และ B. timoriโดยมียุงเป็นพาหะนำโรค ซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศเขตร้อนและกึ่งเขตร้อนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยโดยมีประชากรประมาณ 120 ล้านคนติดพยาธิโรคเท้าช้าง กระจายอยู่ใน 83 ประเทศทั่วโลก ซึ่งร้อยละ 90 มีสาเหตุจากพยาธิW. bancrofti และอีกร้อยละ 10 เกิดจากพยาธิ B. malayi และ B. timori ถึงแม้ว่าผู้ป่วยโรคเท้าช้างส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่พยาธิสภาพที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยระยะเรื้อรังของโรคเป็นเหตุให้เกิดภาวะทุพพลภาพ และพิการอย่างถาวร โดยองค์การอนามัยโลกจัดให้โรคเท้าช้างเป็น 1 ใน 6 โรค ที่สามารถกำจัดให้หมดสิ้นไป สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง หากเป็นผู้ที่อยู่ในแหล่งระบาด และยังไม่ปรากฏอาการ แพทย์จะให้ความสำคัญในการซักประวัติ และผลการตรวจร่างกายเป็นหลัก การวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการที่ถูกต้อง คือ การตรวจหาระยะไมโครฟิลาเรียในกระแสเลือด โดยเจาะเลือด และทำฟิล์มเลือดหนา (thick bloodfi lm) นำมาย้อมสี Giemsa และดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ ซึ่งถือเป็นวิธีมาตรฐาน ที่ทำได้ง่าย ราคาถูก สะดวก แต่การตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์ต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญด้านปรสิตวิทยา และหากมีปริมาณการติดเชื้อตํ่าอาจทำให้มีโอกาสเกิดผลลบปลอมสูง ดังนั้นวิธีการทางวิทยาภูมิคุ้มกันและวิธีการตรวจทางอณูชีววิทยาจึงไดถู้กพัฒนาขึ้นเพื่อชว่ ยสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยโรคเทา้ ชา้ งให้มีความไวและความจำเพาะมากขึ้น บทความฉบับนี้จึงได้รวบรวมการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้าง เพื่อเป็นแนวทางให้แพทย์และบุคลากรด้านสาธารณสุขได้ใช้เป็นแนวทางในการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพต่อไป

คำสำคัญ: โรคเท้าช้าง Wuchereria bancrofti Brugia malayi วิธีการตรวจวินิจฉัย

 

Abstract

Human lymphatic filariasis, a mosquito-borne disease, is caused by the nematodes Wuchereria bancrofti, Brugiamalayi and Brugia timori. It is a major public health problem, particularly in the tropics and subtropics, including Thailand. Approximately 120 million people of 83 country worldwide are infected, of these 90% are caused by W.bancrofti and the other 10% are caused by B. malayi and B. timori. Although it does not cause major mortality, chronic pathology occurred in patients causes permanent disability and handicap. World Health Organization has categorized lymphatic filariasis as one of the most six disease which can be totally eliminated. For lymphatic filariasis diagnosis in asymptomatic patients, profile interview and physical examination is emphasized. The precise laboratory diagnosis is blood microfilaria investigation. This procedure can be archived by blood collection and microscopic thick blood filmpreparation for Giemsa staining. It is standardized, simple, cheap and convenient. However, microscopic determination may need the parasitological experts. When specimens are less infected intensity, false negative results may be found,suggesting that this procedure is low sensitivity. Thus, immunological and molecular biology methods to identify the lymphatic filariasis were developed to improve sensitivity and specificity of diagnostic tools. This review article aims to compile all lymphatic filariasis diagnostic methods in order to obtain the suitable guideline for the effective diagnosis of lymphatic filariasis.

Keyword: lymphatic filariasis, Wuchereria bancrofti, Brugia malayi diagnostic method

Article Details

บท
Academic Articles