ผลของการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ ต่อความเครียดและความสามารถ ของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท

ผู้แต่ง

  • จุฬาวรี ชัยวงค์นาคพันธ์
  • ศิริกาญจน์ จินาวิน
  • วราภรณ์ ยศทวี

คำสำคัญ:

ระบบการพยาบาลแบบสนับสนุนและให้ความรู้, ความเครียด, ความสามารถในการดูแล, ผู้ดูแล, ผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลระบบสนับสนุน และให้ความรู้ต่อความเครียด และความสามารถของผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ซึ่งเป็น ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาท จำนวน 30 ราย แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง คือ ผู้ดูแลที่ได้รับโปรแกรมการให้ การพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ จำนวน 15 ราย และกลุ่มควบคุม คือ ผู้ดูแลที่ได้รับการพยาบาล ตามปกติ จำนวน 15 ราย เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) โปรแกรมการให้การพยาบาลระบบสนับสนุนและ ให้ความรู้ โดยใช้กรอบแนวคิดการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ของโอเร็ม 2) เครื่องมือที่ใช้ในการ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลของผู้ดูแล แบบสอบถามความสามารถในการดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาทาง ระบบประสาท และแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยที่มีปัญหาทางระบบประสาท ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง เชิงเนื้อหาของโปรแกรมและเครื่องมือทั้งหมด โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน และทดสอบความเชื่อมั่นของแบบบันทึก ข้อมูลของผู้ดูแล โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติเชิง บรรยาย สถิติฟิชเชอร์ และสถิติซี ผลวิจัยพบว่า

1. ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาทกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ ความรู้ มีความเครียด (M=22.47, SD=1.19) ต่ำกว่าก่อนได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ความรู้ (M=34.07, SD=4.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

2. ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาทกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ ความรู้ มีความเครียด (M=22.47, SD=1.19) ต่ำกว่ากลุ่มควบคุม (M=24.20, SD=2.11) อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05

3. ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาทกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ ความรู้ มีความสามารถในการดูแล (M=102.93, SD=8.08) สูงกว่าก่อนได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและ ให้ความรู้ (M=82.93, SD=9.41) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

4. ผู้ดูแลผู้ป่วยที่มีปัญหาในระบบประสาทกลุ่มทดลอง หลังได้รับการพยาบาลระบบสนับสนุนและให้ ความรู้ มีความสามารถในการดูแล (M=102.93, SD=8.08) สูงกว่ากลุ่มควบคุม (M=93.26, SD=7.71) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

Downloads