การพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน

ผู้แต่ง

  • ดลปภัฎ ทรงเลิศ
  • รัถยานภิศ พละศึก
  • นิศารัตน์ นรสิงห์

คำสำคัญ:

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, ด้านจิตสังคม, โรคหลอดเลือดสมอง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติทำโดยการใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมแบบสร้างสรรค์ครั้งนี้

มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ดูแล และอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการดูแล

ปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่บ้าน ใน ต.นาเคียน อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่าง

คือ ผู้ดูแล และ อสม.ที่มีความยินดี และสมัครใจเข้าร่วมจำนวน 40 คน ในการสร้างความตระหนักต่อปัญหา

ด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง และมีการนำเสนอข้อมูลสภาพปัญหา และความต้องการแก้ไข

ปัญหาต่อชุมชน เพื่อให้ชุมชนรับทราบและมีส่วนร่วมในการวางแผน ติดตามประเมินผล เครื่องมือที่ใช้คือแบบ

ประเมินความรู้โรคหลอดเลือดสมอง และความรู้ด้านจิตสังคม แบบประเมินทักษะปัญหาด้านจิตสังคม และ

แบบสังเกตการมีส่วนร่วมโดยเครื่องมือดังกล่าวได้รับการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ค่าความ

เชื่อมั่นของแบบสอบถาม โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .87 และ .85 ส่วนแบบประเมิน

ทักษะการประเมินปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่าความตรง test Retest Reliability

เท่ากับ 1 เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 10 มกราคม - 4 พฤษภาคม พ.ศ.2559 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนาโดย

แจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบคะแนนค่าความรู้ และการปฏิบัติ

ก่อน และหลังการดำเนินการโดยใช้สถิติอนุมาน Paired t-test เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม

สัมภาษณ์และการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

หลังการพัฒนาสรรถนะของผู้ดูแล และอสม. ในการดูแลปัญหาด้านจิตสังคมของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด

สมอง โดยการใช้เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วมเป็นแนวในการปฏิบัติทำให้ผู้ดูแล และอสม. มีความรู้

และทักษะการปฏิบัติในระดับดีเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.47, p<0.001, t=9.45, p<0.001) ตาม

ลำดับ การฝึกทักษะการประเมินด้านจิตสังคมสามารถผ่านการทดสอบได้ในระดับดี และทำให้ชุมชน มีส่วนร่วม

มากขึ้นในการแก้ไขปัญหาชุมชนเกิดโครงการพัฒนาศักยภาพ อสม. เรื่องการจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองนำไปสู่การแก้ไขปัญหาสุขภาพในชุมชนต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-02-22