การยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ ในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีชาวไทยมุสลิม : กรณีศึกษาสตรีมุสลิม อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

ผู้แต่ง

  • ปิยธิดา จุลละปีย
  • เบญจมาศ ยศเสนา
  • อารัมภา วัฒนาวงศ์ชัย
  • มณีรัตน์ นันติชัย
  • ธัญลักษณ์ กำจัด
  • วรัญญา มาตพันนา
  • สุวิภา สุริเตอร์
  • ภัศรา นวนศรี

คำสำคัญ:

การยึดมั่นในการศาสนาอิสลาม, , แบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ, การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลาม และแบบ แผนความเชื่อด้านสุขภาพในการตรวจและไม่ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีไทยมุสลิม ที่อาศัยอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีอายุ 30 - 60 ปี จำนวน 83 คน แบบสอบถามในการเก็บข้อมูล ประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก แบบวัดการยึดมั่นในหลัก การศาสนาอิสลาม และแบบวัดแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพ มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธ์แอลฟ่าของครอน บาคระหว่าง .80 - .86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

สตรีไทยมุสลิมมีพฤติกรรมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกตามคำแนะนำ จำนวน 23 คน (27.71%) ไม่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ จำนวน 60 คน (72.29%) กลุ่มที่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=49.26, σ=4.77) มีการยึดมั่นในหลักการศาสนาอิสลามต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=51.53, σ=3.73) กลุ่มที่ ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=48.52, σ=7.85) รับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกสูงกว่ากลุ่ม ที่ไม่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=46.73, σ=5.06) กลุ่มที่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=32.86, σ =4.89) รับรู้ความรุนแรงของโรคใกล้เคียงกับกลุ่มที่ไม่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=32.26, σ=3.98) กลุ่มที่ตรวจ คัดกรองตามคำแนะนำ (µ=18.00, σ=2.37) รับรู้ประโยชน์ของการตรวจคัดกรองใกล้เคียงกับกลุ่มที่ไม่ตรวจ คัดกรองตามคำแนะนำ (µ=17.66, σ =2.28) กลุ่มที่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=28.65, σ=6.51) มีแรง จูงใจด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ตรวจคัดกรองตามคำแนะนำ (µ=27.26, σ =4.00) และกลุ่มที่ตรวจคัดกรอง ตามคำแนะนำ (µ =36.00, σ =10.54) มีการรับรู้อุปสรรคของการตรวจคัดกรองต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ตรวจคัดกรอง ตามคำแนะนำ (µ=37.70, σ =6.30)

 

ดังนั้นบุคลากรสุขภาพควรทำความเข้าใจในหลักการศาสนาอิสลาม และนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้าง ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงและความรุนแรงของโรค ประโยชน์และแรงจูงใจในการตรวจคัดกรอง ตลอดจนช่วยขจัดอุปสรรคในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกของสตรีมุสลิม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-26