เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม กับความตั้งใจในการคุมกำเนิดของหญิงวัยรุ่นหลังคลอด โรงพยาบาลตรัง

ผู้แต่ง

  • เบญจวรรณ - จันทรซิว วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • ทิพย์วรรณ - บุณยาภรณ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

เจตคติ, การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง, การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรม, ความตั้งใจในการคุมกำเนิด, หญิงวัยรุ่นหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยหาความสัมพันธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการคุมกำเนิดของหญิงวัยรุ่นหลังคลอด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง การรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมคุมกำเนิด กับความตั้งใจในการคุมกำเนิดของหญิงวัยรุ่นหลังคลอดที่รับบริการแผนกหลังคลอด โรงพยาบาลตรัง จำนวน 99 ราย โดย ดำเนินการทดลองและเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกันยายนถึงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 5 ส่วนคือ 1) แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป 2) แบบวัดเจตคติในการคุมกำเนิด 3) แบบวัดการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงในการคุมกำเนิด 4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมในการคุมกำเนิด 5) แบบวัดความตั้งใจในการคุมกำเนิด ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 คน ได้ค่า IOC เท่ากับ 1.00 และหาค่าความเที่ยงของแบบสอบถามระหว่าง .67 - .81 วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

1. หญิงวัยรุ่นหลังคลอดที่รับบริการแผนกสูติกรรมหลังคลอด โรงพยาบาลตรัง มีเจตคติอยู่ในระดับดีมาก (M=4.21, SD=0.49) มีการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงอยู่ในระดับดีมาก (M=4.17, SD=0.65) มีการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก (M=4.32, SD=0.71) และมีความตั้งใจในการคุมกำเนิดอยู่ในระดับจริงมาก (M=2.44, SD=0.42)

2. ปัจจัยด้านเจตคติมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับน้อย (r=.386) และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง (r=.529) มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความตั้งใจในการคุมกำเนิด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ส่วนด้านการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมในการคุมกำเนิดไม่มีความสัมพันธ์กับความตั้งใจในการคุมกำเนิด

ดังนั้น การส่งเสริมเจตคติและการคล้องตามกลุ่มอ้างอิงในวัยรุ่นหลังคลอดสามารถทำให้วัยรุ่นหลังคลอดเกิดความตั้งใจและมีการใช้การคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ซ้ำได้

References

Ajzen, I., & Fishbein, M. (1991). Understanding Attitude and Predicting Social Behavior. Nglewood Cliffs, N. J: Prentice-Hall.

Diskeaw, B. (2012). Risks and Teemage Pregnancy Care. Lanna Public Health Journal, 8(2), 160-172. (in Thai)

Fagan, P. F., (2009). The Effect of Pornography on Individuals, Marriage, Family and Community. Research Synthesis. Retrieved from https://www. frc.org

Herrman, J. W. (2007). Repeat Pregnancy in Adolescent Intention and Decision Making. Journal of Maternal Child Nursing, 32(2), 89-74.

Jantarasuk, Ch., Sriareporn, P., & Parisunyaku, S. (2015). Effects of Promoting Attitude and Subjective Norm on Intention and Contraceptive Used among Postpartum Adolescents. Nursing Journal, 42(2), 104-115. (in Thai)

Prasirtwit, J. (2008). Stunned 11-Year-Old girl Pregnant with Menstruation. Retrieved july 10, 2012 from https://www.childmedia.net. (in Thai)

Raneri, L. G., & Wiemann, C. M. (2007). Social Ecological Predictors of Repeat Adolescent Pregnancy. Perspectives on Sexual and Reproductive Health, 39(1), 39-47.

Rowlands, S. (2010). Social Predictors of Repeat Adolescent Pregnancy and Focused Strategies. Best Practice & Research Clinical Obstetrics and Gynaecology, 24(5), 605-616.

Sintawanarong, P. (2013). 5 Years of Prevention Strategy-Solve the Problem of Teenage Pregnancy. Retrieved October 10, 2013 from https://suchons.wordpress.com. (in Thai)

Tatape, N., & Thato, R. (2014). Factors Prediction Contraceptive Behaviors Among Vocational Female Student in Bangkok. Journal of Boromarajonani College of Nursing, Bangkok, 30(2), 1-11. (in Thai)

Thaitthae, S., & Thato, R. (2010). Obstetrics and Outcomes of Teenage Pregnancies in Thailand. Journal of Pediatric and Adolescent Gynecology, 24(6), 342-346.

The Ministry of Public Health. (2013). Statistics for Teenagers Under 20 Years of Age, 365 Children Per Day / 15 Years Less Than 10 Children Per Day. Retrieved October 2, 2015 from https://www.hfocus.org/content/2013/09/4642. (in Thai)

Urairakkul, Ch. (2010). Pregnancy in Teenage. Retrieved October 10, 2015 from https://www.hpe4.anamai.moph.go.th/hpe/data/mch/teenagePregnancy.pdf. (in Thai)

Vanichyabuncha, K. (2008). Using SPSS for Windows for Data Analysis 11th Edition. Dhammasan: Bangkok. (in Thai)

Wattanathamrong, V., Sirisopon, N., Kainakha, P., Onsiri, S., Amitpie, Ch., Anek, A., Napattayatorn, Ph., & Polsron. (2017). Factor Related Intention Contraception Type Implants in Repeat Pregnancies Adolescents. Journal of the Royal Thai Army Nurses, 18(Supplement), 102-111. (in Thai)

Weinberger, D., Elvevag, B., & Giedd, J. (2005). The Adolescent Brain. Washington DC: National Compaing to Prevent Teen Pregnancy.

Wiersma, W., & G. Jurs, S. (2009). Research Method in Education an Introduction. (9th ed). Massachusetts: Pearson.
Yangyuen, S. (2011). Female Reproductive Health Rights. Academic Articles, 31(2), 171-177. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-09