รูปแบบการบูรณาการของการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิ ของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12

ผู้แต่ง

  • ภรณ์ทิพย์ ขุนพิทักษ์ นักศึกษาหลักสูตรการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • จีรเนาว์ ทัศศรี สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ซอฟียะห์ นิมะ สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ (สจรส.) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

คำสำคัญ:

การบูรณาการของการแพทย์แผนไทย, ระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิของโรงพยาบาลศูนย์, ระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิของโรงพยาบาลทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุข และรูปแบบการบูรณาการของการแพทย์แผนไทยเข้าสู่ระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12 โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้รับผิดชอบงานแพทย์แผนไทยใน 10 โรงพยาบาล จำนวน 39 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแนวคำถามสนทนากลุ่ม ทดสอบความตรงของแบบสอบถาม ได้ค่า IOC เท่ากับ .8 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. แนวทางการจัดการในการพัฒนาการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิที่มีประสิทธิภาพในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12 มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) แนวทางการจัดการด้านการจัดระบบบริการ ประกอบไปด้วย 4 ประเด็นคือ การรักษา การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการฟื้นฟูสภาพ 2) แนวทางการจัดการด้านระบบยาสมุนไพร 3) แนวทางการจัดการด้านการจัดระบบโครงสร้าง 4) แนวทางการจัดการด้านพัฒนาบุคลากร และ 5) แนวทางการจัดการด้านการจัดสรรงบประมาณ

2. รูปแบบการบูรณาการของการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขระดับตติยภูมิของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปในเขตบริการสุขภาพที่ 12 เน้นการผสมผสานการแพทย์แผนไทยในระบบบริการสาธารณสุขทำให้มีคลินิก OPD คู่ขนาน ซึ่งคลินิก OPD คู่ขนานควรอยู่ติดกับห้องตรวจ OPD แพทย์แผนปัจจุบัน โดยใช้การเชื่อมต่อกันด้วยระบบการส่งต่อ (Referral System) มีการกำหนดโรค/ภาวะ ระดับความเจ็บป่วย ให้ชัดเจน ที่แพทย์แผนไทยควรส่งต่อแพทย์แผนปัจจุบันหรือแพทย์แผนปัจจุบันส่งต่อแพทย์แผนไทย

References

Department for Development of Thai Traditional and Alternative Medicine. (2008). Integration Thai Traditional Medicine: Situation of Thai Traditional Medicine. Bangkok: Usa Print Station. (in Thai)

Office of Information and Evaluation (2013). Thai Traditional Medicine Public Health Report Alternative Medicine and Alternative Medicine 2011-2013. Department of Traditional Thai Medicine and Alternative Medicine: Ministry of Public Health. (in Thai)

Office of Information and Evaluation. (2007). Situation of using Thai Traditional Medicine Services in Public Health Facilities of the Country. Department of Traditional Thai Medicine and Alternative Medicine: Ministry of Public Health. (in Thai)

Ornchomjan, D. (2004). Traditional Thai Medicine Behind the Future and Hope for the Development of Thai Traditional Medicine to the International. Office of Health Sciences: Mae Fah Luang University. (in Thai)

Ukampun, S. (2013). Development Services to Traditional Thailand Medicine, a Case Study for Tombol Health Promoting Hospital in Muang Kalasin, Kalasin. Kalasin Rajabhat University, Kalasi. (in Thai)

Viboonphonprasert, S., & Chungsathiansup, K. (2007). Traditional Thai Medicine: "Wisdom of self-reliance". Bangkok: HP. Print Station. (in Thai)

Wongchai, T. (2013). Role of Pharmacists and Public Health Workers in the Development of Physicians. Traditional Thai Hospital National Symposium and Presentation, 2, 16-17. February 2013. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-18