การพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่น ในการพยาบาลมารดาหลังคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล

ผู้แต่ง

  • น้ำฝน ไวทยวงศ์กร วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • ปรางทิพย์ ทาเสนาะ เอลเทอร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
  • รัชนี ชุนเกาะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

คำสำคัญ:

แอพพลิเคชั่น, นักศึกษาพยาบาล, การพยาบาลหลังคลอด

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการพยาบาลมารดา ทารกและการผดุงครรภ์  พัฒนาสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่น เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการใช้สื่อแอพพลิเคชั่นก่อนและหลังฝึกปฏิบัติงาน และศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่นในการพยาบาลมารดาหลังคลอด ประชากรและกลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ปีการศึกษา 2559 การดำเนินการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน เพื่อสำรวจสภาพปัญหาและอุปสรรค กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จำนวน 151 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามวัดความพึงพอใจและการทำสนทนากลุ่ม 2) ออกแบบรูปร่างและพัฒนาแอพพลิเคชั่นโดยการใช้วงจรการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle: SDLC) ตรวจสอบความครอบคลุมด้านเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ได้แก่ สูติแพทย์ พยาบาลและอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านสูติกรรม อาจารย์พยาบาลที่เชี่ยวชาญด้านการวัดและประเมินผล และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 3) ศึกษาผลการทดลองใช้สื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่นในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 3 จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน  และ 4) ขั้นการศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อสื่อการเรียนรู้รูปแบบแอพพลิเคชั่นในการปฏิบัติการพยาบาลมารดาหลังคลอด (Postpartum Care) กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 3  ซึ่งเป็นกลุ่มทดลองในขั้นตอนที่ 3 จำนวน 30 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ประเด็นสัมภาษณ์ความพึงพอใจ แอพพลิเคชั่นการพยาบาลมารดาหลังคลอด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบ Independent t-test และ Paired  t-test ผลวิจัยพบว่า

ผลการพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการพยาบาลมารดาหลังคลอด สำหรับนักศึกษาพยาบาล ได้เท่ากับ 84.97/80.76 สูงกว่าประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ E1/E2=80/80 ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพบว่าหลังการศึกษาคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาที่เรียนผ่านสื่อแอพพลิเคชั่น (M = 18.17, SD = 2.26) สูงกว่าคะแนนของนักศึกษาที่ไม่ได้ใช้สื่อแอพพลิเคชั่น (M = 13.4, SD = 2.61) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(29) = 7.56,    p = 0.000) และนักศึกษาที่ใช้สื่อแอพพลิเคชั่นมีคะแนนหลังการเรียน (M = 18.17, SD = 2.26) สูงกว่าก่อนการเรียน (M = 11.9, SD = 2.23) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t(29) = -10.116, p = .000.) นักศึกษาที่เรียนผ่านสื่อแอพพลิเคชั่นมีความพึงพอใจในการใช้สื่ออยู่ในระดับมากที่สุด (M =4.63, SD= .40)

ผลการวิจัยและพัฒนานี้ทำให้ได้สื่อการสอนที่เหมาะสมสำหรับนักศึกษา การวิจัยในอนาคตควรใช้แนวทางนี้ในการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ในหัวข้ออื่น หรือพัฒนาสื่อในรูปแบบอื่น เช่น ภาพเสมือนสามมิติ เป็นต้น

References

Brahmawong, C. (2013). Developmental Testing of Media and Instructional Package. Silpakorn Educational Research Journal, 5(1), 7-20. (in Thai)

Buranasak, J., Limruangrong, P., & Pungbangkadee R. (2014). The Effect of Computer Assisted Instruction of Abdominal Examination on Knowledge, Abdominal Examination Skills and Satisfaction of Nursing Students. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 15(3), 361-370. (in Thai)

Bureau of Health Promotion. (2017). Report of the Dead Mother in October 2016-May 2017. Health and Child Groups. Health Promotion Bureau. Retrieved December 18, 2017 from http://hp.anamai.moph.go.th/download/article/article_20180227144732.pdf

Chantra, R., & Sarakshetrin, A. (2017). Learning Skills in 21stCentury of Nursing Students at Boromarajonani College of Nursing, Suratthani. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(1), 180-190. (in Thai)

Chantem, A., Chuathong, S., & Supinanont, P. (2018). The Development of Application Using Collaborativelearning on the Topic “Healthy Exercise for the Elderly”. Veridian E-Journal, 11(1), 1317-1385. (in Thai)

Cronbach, L., J. (1970). Essential of Psychological Testing. New York, Evanston and London: Harper & Row.

Dachacup, P., & Yindeesuk, P. (2015). Learning Management In the 21st century. (2nd ed.). Bangkok: Printing of Chulalongkorn University.

Ditsiri, T. (2015). Development of Application for Tablet Instruction on Addition with Techniques of Secrets of Mental Math to Enhance Mathematics Fast Calculation Skill of the Sixth Grade Students. (Master’s Thesis). Kasetsart University, Department of Educational Technology.

Kananit, S. (2015). Development of Learning Applications on Android Operating Systems Health Education Subjects at Grade 1. Satriwithaya2 School. Under the Royal Patronage of HRH Princess Srinagarindra. Ministry of Education. (in Thai)

Kimsungnoen, N., & Petchtang, S. (2016). The Effect of E-Learning Courseware Media on the Learning Achievement of Nursing Students at the School of Nursing, Rangsit University. Thai Red Cross Nursing Journal, 9(1), 63-74. (in Thai)

Luecha, Y., Lerdmaleewong, M., Laohachinda, Y., Leisuwan, W., Putwatana, P., & Thanaruk, R. (2000). Nursing Research. (7th ed.). Bangkok: Siam Art Printing Co., Ltd.

Manotham, O., Parisunyakul, S., & Sriarporn, P. (2014). Postpartum Health Behaviors among Rural Laotian Women and Related Factors. Nursing Journal, 41(3), 35-47. (in Thai)

Mehrens, W. A., & Lehmann, I. J. (1991). Measurement and Evaluation in Education and Psychology. (3rd Ed.). New York: Holt, Rinehart and Winston.

Odklun, P., Khumkr, Y., & Panjunghan, B. (2016). Application Development for Nursing Record in the Tablet PC. Buddhachinaraj Medical Journal, 33(2), 207-217. (in Thai)

Phongkitwitoon, R. (2011). Development of Electronic Lessons Based on Learning Concepts By Using the Brain as a Base Multimedia Production and Presentation Courses for Education for Undergraduate Students Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (Research Report). Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (in Thai)

Polit, D. F., & Beck, C. T. (2008). Nursing Research: Generating and Assessing Evidence for Nursing Practice. (8th ed.). Lippincott Williams and Wilkins, Philadelphia.

Polit, D. F., & Hungler, B. P. (1999). Nursing Research: Principles and Methods. (6th ed.). Lippincott Williams and Wilkins, Philadelphia.

Ruengrong, P., Jiravarapong, B., Manyum, W., Somyaron, W., Muendet S., & Srisurat, C., (2014). Educational Technology VS Thai Teachers in 21st Century. Panyapiwat Journal, 5(Special Issue), 195-207. (in Thai)

Singdee, B., & Satpretpry, S. (2015). Research and Development of Application Instruction Media on Tablet Android Operation System in Career and Technology Subject for Mattayomsuksa 1. (Proceedings). National and International Conference Interdisciplinary Research for Local Development Sustainability. 623-634. (in Thai)

Shelly, M. W. (1975). Responding to Change. Pensylvania: Dowen Hutchinsun & Rose, Ins.

Sirisupluxana, P. (2013). Teaching Nursing Students to Develop Critical Thinking Skills. The Journal of Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima, 19(2), 5-19. (in Thai)

The Office of the Minister Ministry of Education. (2013). Ministry of Education. Retrieved September, 30, 2016 from http://www.moe.go.th/websm/2013/aug/275.html

Thaisuwan, P., K. (2018). Research Development and Participatory Action Research. Retrieved April 22, 2019 from http://irem.ddc.moph.go.th/uploads/downloads/5ab9aa1d90875.pdf

Waithayawongkorn, N. (2013). Perceptions from Nursing Students on their First Clinical Practice. Boromarajonani College of Nursing, Nakhon Ratchasima. Office of the Permanent Secretary. Ministry of Public Health. (in Thai)

Waithayawongkorn, N., Elter, P., & Choonkor, R., (2017). Development and Effective Testing of the Instructional Mobile Application Used by Junior Nursing Students While Providing Care for Postpartum Mothers. (Proceedings). 2017 ANPOR Annual Conference. (443-452)

Worapitbenja, P., Krangnun, J., & Srisom, N., (2015). The Development Learning Managements System Application of Virtual Classrooms on Mobile Device. Industrial Technology Lampang Rajabhat University Journal, 8(2), 58-67. (in Thai)

World Health Organization. (2018). Maternal Mortality. Retrieved December 13, 2018 from https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/maternal-mortality

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-09