สมรรถนะและการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา ของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการระดับปฐมภูมิ พื้นที่ภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ญนัท วอลเตอร์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
  • วรารัตน์ ทิพย์รัตน์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ตรัง

คำสำคัญ:

การสร้างเสริมสุขภาพ, สมรรถนะ, บทบาท, พยาบาลวิชาชีพ, บริการระดับปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพและการปฏิบัติบทบาทด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ภาคใต้ กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยบริการปฐมภูมิในพื้นที่ภาคใต้ จำนวน 138 คน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไป 2) ระดับสมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพด้านการสร้างเสริมสุขภาพ และ 3) การปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบกฎบัตรออตตาวา รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพและวิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่น เครื่องมือในส่วนที่ 2 และ 3 ได้ค่าเท่ากับ .97 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีระดับสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ 4 ด้าน อยู่ในระดับชำนาญ ได้แก่ ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลในการสร้างเสริมสุขภาพ (M=1.82, SD=.44) ด้านปฏิบัติการสร้างเสริมสุขภาพ (M=1.84, SD=.44) ด้านบริหารจัดการในการสร้างเสริมสุขภาพ (M=1.77, SD=.43) และด้านการพัฒนาภาคีเครือข่ายการสร้างเสริมสุขภาพ (M=1.74, SD=.47) ส่วนสมรรถนะอีก 1 ด้าน คือ การวิจัยและการจัดการความรู้อยู่ในระดับพื้นฐาน (M=1.59, SD=.51) ส่วนการปฏิบัติบทบาทของพยาบาลวิชาชีพในการสร้างเสริมสุขภาพตามกรอบกฎบัตรออตตาวา พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=2.32, SD=.47) เมื่อจำแนกรายด้านพบว่าทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยบทบาทด้านการพัฒนาทักษะส่วนบุคคลมีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (M=2.41, SD=.51)

ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะการสร้างเสริมสุขภาพของพยาบาล โดยเฉพาะด้านการวิจัยและการจัดการความรู้ รวมทั้งการส่งเสริมการปฏิบัติบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวาของพยาบาลวิชาชีพในการให้บริการระดับปฐมภูมิต่อไป

References

Junprasert, S., Rattanagreethakul, S., & Krungkraipetch, N. (2016). Strengthening Community. In Kampalikit, S., & Petpichetchian, W. (Ed.) Bangkok: Mata Press. (in Thai)

Kaewthummanukul, T., & Sirakamon, S. (2016). Health Promotion Competency and Practice among Nurses in Primary Care Service, the North Region. Nursing Journal Volume 43 Supplement, 184-195. (in Thai)

Kampalikit, S., Arpanantikul, M., & Chinuntuya, P. (2016). Health Promotion: Roles of Nurses. In Wongchan Petpichetchian (Ed.) Bangkok: Mata Press. (in Thai)

Kampalikit, S., Luecha, Y., Baramee, J., Klunklin, A., Suwanpatikorn, K., & Suwannakeeree, W. (2007). Assessment of Health Promotion Competency among Nursing Students in Master Degree. Nursing Journal, 25(3), 44-55. (in Thai)

Klunklin, A., Amatayakong, R., & Boonchiang, W. (2016). Development of Personal Skills. In Siriporn Kampalikit & Wongchan Petpichetchian (Ed.) Bangkok: Mata Press. (in Thai)

Krungkraipetch, N., Junprasert S., Rattanagreethakul, S., Techasuksri, T., Sananreongsak, S., Viriya, C., et.al, (2017). Health Promotion Competencies among Nurses, Eastern Region. The Journal of Faculty of Nursing Burapha University, 25(3), 30-40. (in Thai)

Kunaviktikul, W., Wichaikhum, O., Nantsupawat, A., Sirakamon, S., Bhosai, J., Sathapornpat, P., et al. (2015). Health Promotion Competency and Practice among Nurses, the North Region. Nursing Journal, 42(Supplement), 151-165. (in Thai)

Ministry of Public Health. (2016). The 12th National Health Development Plan. Retrieved from http://wops.moph.go.th/ops/oic/data/20161115144754_1_.pdf

Piyabunditkul, L. (2016). Building Participatory Healthy Public Policy, Reorienting Health Services and Creationg Healthy Environment. In Siriporn Kampalikit & Wongchan Petpichetchian (Ed.) Bangkok: Mata Press. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-06