ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม: การเรียนรู้เพื่อเข้าใจวิถีวัฒนธรรมสุขภาพของผู้รับบริการ

ผู้แต่ง

  • วิไล อุดมพิทยาสรรพ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • นูรซาฮีดา เจ๊ะมามะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ถาวร ล่อกา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
  • รัชนิตา เขียนโพธิ์ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี แพร่

คำสำคัญ:

ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม, การเปิดใจ, การตระหนักรู้ในตนเอง

บทคัดย่อ

ความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม (Cultural Humility) เป็นเครื่องมือสำคัญของทีมสุขภาพทุกระดับในการเรียนรู้เพื่อยอมรับและเข้าใจวิถีวัฒนธรรม ความเชื่อ และพฤติกรรมสุขภาพผู้รับบริการ ในขณะเดียวกันก็เป็นกระบวนเรียนรู้ตนเอง รู้จักตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยการสะท้อนคิด พิจารณาตนเองอย่างลึกซึ้ง นำไปสู่การมีส่วนร่วมระหว่างผู้ให้บริการและผู้รับบริการในการพัฒนา หรือการพัฒนาคุณภาพการดูแลสุขภาพที่ตอบสนองความต้องการผู้รับบริการที่เหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตและวัฒนธรรมตามบริบทของพื้นที่ต่อไป  องค์ประกอบของความนอบน้อมต่อวัฒนธรรม ประกอบด้วย 1) การเปิดใจ (Openness) เรียนรู้ ความคิด ความเชื่อ ความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม 2) การตระหนักรู้ในตนเอง (Self-Awareness) เป็นการรับรู้ศักยภาพที่เป็นจุดแข็ง ความรู้ความสามารถตนเอง และข้อจำกัดตนเอง 3) การลดอัตตาตนเอง (Egoless) หรือปรับทัศนคติต่อตนเอง ในการมองผู้อื่นอย่างเท่าเทียมกับตนเอง 4) การมีปฏิสัมพันธ์ (Supportive Interaction) การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล หรือระหว่างกลุ่ม มีการแบ่งปัน การร่วมรับผิดชอบ 5) การสะท้อนคิดและวิเคราะห์ต่อตนเอง (Self-Reflection and Critique) เพื่อการเรียนรู้ในการเข้าใจผู้อื่น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ นำเสนอแนวคิดความนอบน้อมทางวัฒนธรรม หลักการประเมินภาวะสุขภาพในมิติทางวัฒนธรรม  และการเรียนรู้ เข้าใจ วัฒนธรรมสุขภาพของผู้รับบริการ

References

Andrews, M. M. (2012). The Influence of Cultural and Health Belief Systems on Health Care Practices. In M. M. Andrews & J. S. Boyle (Eds.), Transcultural Concepts in Nursing Care (6th ed., pp.73-88). Philadelphia: Wolters Kluwer/ Lippincott Williams & Wilkins.

Fahlberrg, B., Foronda, C., & Baptist, D. (2016). Cultural Humility: The Key to Patient/Family Partnerships for Making Difficult Decisions, Nursing, 46(9), 14-16.

Fetterman, D. M. (1998). Ethnography Step by Step (2nd ed.). California: Sage.

Helman, C. (2007). Culture, Health and Illness (5th ed). New York: Hodder Arnold.

Leininger, M. M. (2002). Culture Care Diversity and Universality: A theory of Nursing. California: Jones and Bartlett.

Ministry of Public Health. (2016). Strategy Plan of Ministry of Public Health 2017-2021. (in Thai)

Puttaruksa, L., Khumyu, A., & Dallas, J. C. (2017). Guidelines for Assessment of Health Status According to Cultural Dimensions of Transcultural Service Recipients Based on Expert Perspective. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 3(28), 36-45. (in Thai)

Roper, J. M., & Shapira, J. (2000). Ethnography in Nursing Research. California: Sage Publications, Inc.

Santisombat, Y. (2013). Humans and Culture. (4th ed). Thammasat University. Bangkok. (in Thai)

Siriphan, S., & Songwathana, P. (2014). Teaching Methods for Enhancing Cultural Competency of Nursing Students Based on Theoretical Concepts of Campinha-Bacote. Princess of Naradhiwas Journal, 6(1), 146-157.

Spradley, J. P. (1980). Participant Observation. Philadelphia: Holt, Rinehart and Winston.

Suttharangsee, W. (2005). Leininger’s Transcultural Nursing. Songklanagarind Journal of Nursing, 2(25), 95-115.

Udompittayason, W. (2015). Living with Hypertension: An Ethnographic Study of Thai-Melayu Elderly in a Province of Southern Thailand. (Unpublish Doctoral Dissertation). Prince of Songkla University. Songkhla, Thailand.

Yeager, K. A., & Bauer-Wu, S. (2013). Appl Nurs Res, 26(4), 1-11 doi: 10.1016/j.apnr.2013.06.008

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-12