จิตตปัญญาศึกษา: กิจกรรมและการประเมินการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต

ผู้แต่ง

  • กรศศิร์ ชิดดี วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
  • ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
  • กรรณิกา เกตุนิล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยภัฎเพชรบุรี
  • นันทา กาเลี่ยง คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์

คำสำคัญ:

จิตตปัญญาศึกษา, กิจกรรมและการประเมินการเรียนรู้, นักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอกิจกรรมและการประเมินการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา โดยจิตตปัญญาศึกษาเป็นกระบวนการเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ เน้นการพัฒนาด้านในอย่างแท้จริง ประกอบด้วยการเรียนรู้ด้านพลังชีวิตและการกระทำ การเรียนรู้ด้านความรู้สึก และการเรียนรู้การคิดและตัดสินใจ ซึ่งเรียกอย่างง่ายว่า มือ/กาย ใจและหัวนำมาจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางทั้ง 2 แบบ คือ แบบเน้นตัวผู้เรียนนำตนเอง และแบบเน้นประสบการณ์ การเรียนแบบลงมือปฏิบัติจริง นั้นใช้ “กิจกรรม ” เป็นหลักในการเรียนการสอน โดยการ “ปฏิบัติจริง ” ประเมินความก้าวหน้าของผู้เรียนเป็นระยะด้วยวิธีการที่หลากหลาย เพื่อทำให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจและความสามารถ ณ ปัจจุบันขณะกระบวนการจิตตปัญญากับการวางแผนจัดการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต ประกอบด้วย4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่1 การสงบนิ่งอยู่กับตนเอง เป็นการพัฒนาฐานกาย (HAND) ได้แก่ กิจกรรมการทำสมาธิ (การสงบนิ่ง) การภาวนา การผ่อนพักตระหนักรู้ เพื่อฝึกสติและการตามรู้อารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตน  ขั้นตอนที่ 2 การสรรค์สร้างประสบการณ์ เป็นการพัฒนาฐานใจ (HEART) ได้แก่ กิจกรรม การวาดภาพ และระบายสี เพื่อสื่อสารความคิดโดยใช้ลายเส้นและสีสัน การสัมภาษณ์ การเคลื่อนไหวตามจังหวะ เพื่อฝึกสติและการเปิดรับผู้อื่น ขั้นตอนที่ 3 การให้ความรู้พัฒนาฐานคิด (HEAD) ได้แก่ กิจกรรม การบรรยายเรื่องหลักการพื้นฐานจิตตปัญญาศึกษา สุนทรียสนทนา เพื่อฝึกฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจและลดอคติของตนเอง กงล้อสี่ทิศ (การเรียนรู้บุคลิกภาพตนเองและผู้อื่น) การใช้สุนทรียสนทนา การแบ่งปันและการแลกเปลี่ยน การฟังเรื่องเล่าจากเพื่อนอ่านบทกลอน  บทกวี ของรักของหวง  ฝึกการใช้อายตนะ6 ขั้นตอนที่4 การสะท้อนความคิด ได้แก่ กิจกรรมให้ประเมินตนเอง (Self-Reflection) การบันทึกผลการเรียนรู้ (Journal Writing) และประเมินโดยผู้สอน

References

Chiddee, K. (2016). Development of Learnning Management Model on Health Promotion and Illness Prevention Based Upon Complative Education Concept For Health Behavior Modification and Emotional Quotient Enhancement of Nursting Students. Dissertation, Ed. D. Health Education and Physical Education (Health Education Management) Srinakharinwirot. (in Thai)

Chumpeeruang, S., Wattanatorn, A., Hingkanont, P., & Keawurai, W. (2013). Development of Curriculum to Enhance Desirable Characteristics through Dialogue for Nursing Students. journal of Education Naresuan University, 15(3), 9-15. (in Thai)

Eka, S. (2019). Activity Based Learning. Retrieved Mach 3, 2019. From https://www.krumontree.com

Imsumkhao, S. (2011). The Result of Integrating Mental Education in Nursing Practice of Persons with Health Problems 3: A Case Study of the Intensive Care Unit, Yasothon Hospital. Journal of Nursing and Education, 4(2), 66-78. (in Thai)

Jantaweemuang, W. (2016). Effect of Contemplative Education program on Spiritual well Being of Nursing Students. Master of Nursing Science in Community Nursing Practitioner. Princess of Songkla University. (in Thai)

Khamsawarde, N. (2009). The Results of Instructional Method With Contemplative Education in Maternal Child and Midwifery Practicum 1. Mahasarakham: Srimahasarakham Nursing College. (in Thai)

Khemmani, T. (2007). Teaching Science: Knowledge for Effective Learning Process. Publisher of Chulalongkorn University. Bangkok. (in Thai)

Khumdam, V. (2010). Case Study of Learning Management Model Based on the Concept of Mental Education in Higher Education. Doctoral Thesis. Education Research. Graduate school. Chulalongkorn. University. (in Thai)

NilaiKovit, T., & Chantasuk, A (2009). Art of Organizing the Learning Process for Change: a Guide Contemplative Education. Bangkok: S.P.N. Printing. (in Thai)

Thongtavee, C. (2008). Annual Conference on Intellectual Psychology Education for Human Development. Bangkok: The Center for Intellectual Education Mahidol University. (in Thai)

Suttachinda, S. (2000). The study of Self-Discipline of Students in Vocational Commerce Schools Under the Office of the Private Education Commission in Bangkok. Master thesis M.Ed. (Guidance Psychology). Bangkok: Graduate School Srinakharinwirot University. (in Thai)

Suwannaka, Y. (2009). The Development of Holistic Care with Contemplative Education: A new Paradigm of Nursing Education. Surin: Boromarajonani College of Nursing Surin. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-11