ตัวแบบในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • รัถยานภิศ รัชตะวรรณ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
  • กาญจนาณัฐ ทองเมืองธัญเทพ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
  • ศิริมา วงศ์แหลมทอง วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ผู้สูงอายุ, อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน, โรคเรื้อรัง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและผู้ดูแล บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง และสังเคราะห์ตัวแบบของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง ผู้ให้ข้อมูลหลักเลือกแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้เทคนิค Snow Ball ประกอบด้วย ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง จำนวน 11 คน ผู้ดูแล จำนวน 11 คน และอาสาสมัครสาธารณสุขที่ดูแลผู้สูงอายุ จำนวน 14 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ภายใต้กระบวนการดำเนินการ มี 3 ขั้นตอน คือ 1) ค้นหาความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังและผู้ดูแล 2) ค้นหาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขในการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรัง และ 3) สังเคราะห์ตัวแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังของอาสาสมัครสาธารณสุข ผลการวิจัยพบว่า

1. ผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังต้องการการดูแลจาก อสม. ในการช่วยเหลือเมื่อมีปัญหาในการดูแลตนเอง ได้แก่ การรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับการเจ็บป่วยของตนเอง การรับประทานยา การบีบนวดเมื่อมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ การติดตามประเมินอาการเจ็บป่วยเบื้องต้น รวมถึงการเป็นเพื่อนพูดคุยให้คำปรึกษา ส่วนผู้ดูแลต้องการเรียนรู้ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุตามสภาพปัญหาในด้านการรับประทานอาหาร การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด การดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุ และการเตือนเรื่องเวลาไปพบแพทย์ตามนัด

2. อสม. มีการพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเรื้อรังเชิงระบบ โดยใช้กลไกการเยี่ยมบ้านในการดูแล นอกจากนี้ อสม. ยังใช้การถอดบทเรียนการดูแลผู้สูงอายุเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

3. รูปแบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีโรคเรื้อรังของ อสม. เน้นกระบวนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาและสร้างเครือข่ายในการดูแล ประกอบด้วย 3 A คือ Assessment-Analysis-Action in Participation

ผลการวิจัยพบว่ากระบวนการของ 3As Care Model มีผลกระทบเชิงบวกต่อการเรียนรู้การพัฒนาการดูแลผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอย่างมีส่วนร่วมของครอบครัวในการแก้ปัญหาและพึ่งตนเอง ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขของ รพ.สต.บ้านไม้แดง  จึงควรนำตัวแบบนี้ ไปใช้ในการพัฒนาภาวะสุขภาพในมิติอื่น ๆ ในพื้นที่ให้ครอบคลุมการดูแลประชากรทุกกลุ่มวัย รวมถึงควรมีการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพชุมชนอย่างมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง และขยายไปยังชุมชนอื่น ๆ ต่อไป

References

Amsamai, S., Mhuansit, R. & Thongmag, J. (2013). An Elderly Care Model among Caregiving Volunteers at Phukrang Municipality, Amphur Praputthabat, Saraburi Province. Nursing Journal of the Ministry of Public Health, 22(3), 77-87. (in Thai)

Fisher, E., Boothroyd, R., Coufal, M. Baumann, L., Mbanya, J., Rotheram-Borus, M., et al. (2012). Peer Support for Self-Management of Diabetes Improved Outcomes in International Settings. Retrieved August13, 2017 from https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/22232103.

Khorphon, S., Pankeaw, J., Sarobol, T., Sitthisongkram, S., Chaisrisawat, S., Chaisrisawat, et all. (2014). Use of Participatory Action Research (PAR) in Preventing and Solving Problems Caused by Alcohol Consumption in the Community of Nong Toa Kammai Village, Pa Phai Sub-District, San Sai District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 2(3), 313-324. (in Thai)

Meankerd, W. (2017). Role of the Elderly Care Volunteer in Elderly Care Process for Case Management: A Case Study of Bang Si Thong Sub-district, Nonthaburi Province. Journal of Graduate Volunteer Centre, 14(1), 38-76. (in Thai)

Miller, W. L., & Crabtree, B. F., (1992). Primary Care Research: A Multimethod Typology and Qualitative Road Map. In B. F. Crabtree & W. L., Miller (Eds.), Doing Qualitative Research 3-28. Newbury Park: SAGE.

Phalasuek, R. & Thanomchayathawatch, B. (2017). A Family Model for Older People Care. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(3), 135-150. (in Thai)

Phalasuek, R., Thanomchayathawatch, B., & Thonglert. D. (2017). A Community Participation Process in Teenage Pregnancy Prevention. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(2), 256-267. (in Thai)

Phromphat, C. (2013). Aging Society in Thailand. Retrieved August 15, 2017 from http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440_0002.PDF/.

Phuphaibul, R., Watanasak, S., Jitramontree, N., Apanuntikul, M., Youngpradith, A., Sinsuksai, N., et al. (2012). Development Process for Sufficiency Health in Community. Journal of Nursing Science & Health, 35(1), 28-37. (in Thai)

Putjorn, T., Veranavin, L., Kheovichai, K. & Unaromlert, T. (2016). Participatory Action Research in Community-Based Tourism Management for Sustainable Community Development at Salakkhok, Trat Province. Journal of Liberal Arts, Prince of Songkla University, 5(2), 102-117. (in Thai)

Winitsorn, N., Tangchitmeti, P., Yuenyong, N., & Panbun, S. (2015). The Development of Chronic Care Model for Urban Older Adults by Community Participation: A Case Study of Bangkhayaeng Community, Journal of Nursing and Education, 8(3), 14-32. (in Thai)

Wisawatapnimit, P & Turner, K. (2017). Holistic and Humanized Health Care: A Case Study of HIV/AIDS Patients at Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute. Journal of Health Systems Research, 11(3), 401-413. (in Thai)

Yamsri, R. (2010). The Public Health Volunteer Development in Rangsit Municipality, Thanyaburi District Pathum-Thani Province In Caring for Elderly People with Chronic Diseases. A Dissertation Submitted in Partial Fulfillment of the Requirement for the Master of Public Administration Facultry of Pubic Management, Khonkaen: Khonkaen University. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-11