ผลของโปรแกรมการสื่อสารเตือนภัยต่อความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด และการจัดการอาการของประชาชน ต.ปากหมาก จ.สุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • ลาวัลย์ เวทยาวงศ์
  • ดาราวรรณ รองเมือง
  • จีราพร ทองดี
  • ฉันทนา นาคฉัตรีย์
  • ผกามาศ รักชาติ
  • อรุณศรี รัตนพรหม

คำสำคัญ:

โปรแกรมการสื่อสารเตือนภัย, การจัดการอาการ, โรคหัวใจขาดเลือด

บทคัดย่อ

โรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันเป็นปัญหาสาธารณสุขประเทศไทย การสื่อสารสร้างกระแสให้ประชากร

ตื่นตัว จะส่งผลให้ประชาชนมีความรู้ และตระหนักถึงอาการสำคัญของโรคหัวใจขาดเลือด ที่ต้องรีบไปรับการ

รักษาที่โรงพยาบาล การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของ

โปรแกรมการสื่อสารเตือนภัยต่อความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด และการจัดการอาการของประชาชนใน

ต.ปากหมาก จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไปอาศัยใน ต.ปากหมาก จ.สุราษฎร์ธานี

จำนวน 364 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) โปรแกรมสื่อสารเตือนภัย และ 2) เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล

ได้แก่ แบบประเมินความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด ประกอบด้วยความรู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด ปัจจัยเสี่ยง อาการ

แสดง และแบบประเมิน วิธีการจัดการเมื่อมีอาการของโรคหัวใจขาดเลือด ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ

จำนวน 3 คน มีค่าความตรงของเนื้อหา .98 , 1.00 ตามลำดับ และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .90 และ .85 ตาม

ลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบที่สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระ

จากกัน ผลการวิจัยพบว่า

ภายหลังจัดโปรแกรมการสื่อสารเตือนภัยเรื่องโรคหัวใจขาดเลือด 1) ผู้เข้าร่วมโปรแกรมมีคะแนนความ

รู้เรื่องโรคหัวใจขาดเลือด (M=20.29, SD=5.29) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม (M=11.79, SD=6.10) อย่างมีนัย

สำคัญทางสถิติ (t (363)=20.65, p<.001) 2) ผู้เข้าร่วมโครงการมีคะแนนวิธีการจัดการเมื่อมีอาการของโรคหัวใจ

ขาดเลือด (M=4.53, SD=1.68) สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (M=3.07, SD=2.01) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

(t(363)=11.51, p<.001)

Downloads