การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาโดยบุคลากรทางวิชาชีพ ต่อพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ

ผู้แต่ง

  • นริศรา ใคร้ศรี
  • พัชรินทร์ เงินทอง
  • ลาวัลย์ สมบูรณ์
  • เทียมศร ทองสวัสดิ์

คำสำคัญ:

การรับรู้สมรรถนะแห่งตน, การเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา, การทบทวนอย่างเป็นระบบ

บทคัดย่อ

น้ำนมมารดามีสารอาหารที่เป็นประโยชน์ช่วยลดอัตราการเกิดโรค และอัตราตายของทารกได้อย่างมี

ประสิทธิผลที่สุด อย่างไรก็ตาม อัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดายังคงอยู่ในระดับต่ำ สาเหตุที่มารดาไม่เลี้ยงบุตร

ด้วยนมมารดา เนื่องจากขาดการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ซึ่งมีความสัมพันธ์กับระยะ

เวลาในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสรุป

องค์ความรู้เกี่ยวกับประสิทธิผลของการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาโดย

บุคลากรทางวิชาชีพ ในประเด็นพฤติกรรมการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา กลุ่มตัวอย่างเป็นงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในสื่ออิเล็กทรอนิกส์

ห้องสมุด และฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่ศึกษาเกี่ยวกับการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการเลี้ยงบุตรด้วยนม

มารดาในช่วงเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 ถึง พ.ศ.2558 จำนวน 14 เรื่อง โดยใช้เครื่องมือการศึกษาจากสถาบัน

โจแอนนาบริกส์ ผลลัพธ์จากการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ พบว่า

การส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา โดยบุคลากรทางวิชาชีพ สามารถ

ส่งเสริมได้ตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ และต่อเนื่องไปจนถึงหลังคลอด ใช้วิธีการส่งเสริมทั้งการให้ความรู้ และการฝึก

ปฏิบัติ โดยให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดาเป็นอันดับแรก ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อพฤติกรรมการเลี้ยง

บุตรด้วยนมมารดา ระยะเวลาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา และอัตราการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา จากผลการ

ศึกษาควรนำไปประยุกต์เป็นแนวทางในการส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน ในการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ตั้งแต่ในระยะตั้งครรภ์จนถึงระยะหลังคลอด

Downloads