ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ปรารถนา วัชรานุรักษ์
  • อัจฉรา กลับกลาย

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการป้องกันโรค, ผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง, ปัจจัยนำ, ปัจจัยเอื้อ, ปัจจัยเสริม

บทคัดย่อ

วิจัยครั้งนี้เป็นการหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์และอิทธิพลของปัจจัยชีวสังคม

ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง โดย

ประยุกต์กรอบแนวคิด PRECEDE Model (2005) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน ถึงเดือนตุลาคม

พ.ศ.2559 กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง สุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนจำนวน 280 ราย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ข้อมูลปัจจัยชีวสังคม 2) ความรู้เกี่ยวกับโรคได้ค่าความเชื่อมั่น

(KR-20=.71) 3) ความเชื่อเกี่ยวกับโรค 4) ปัจจัยเอื้อต่อการปฏิบัติพฤติกรรม 5) การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคม

และ 6) พฤติกรรมการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ

.76, .83, .79 และ .79 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และ

วิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า

แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ปัจจัยเอื้อจากสื่อ และเพศ เป็นตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อย

ละ 14.8 (R2=0.148) โดยตัวแปรที่มีน้ำหนักในการพยากรณ์สูงสุดคือ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว ปัจจัย

เอื้อจากสื่อ และเพศ ( \beta=.270, .167 และ .154 ตามลำดับ, p<.01) โดยมีสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

คือ

Z พฤติกรรมการป้องกันโรคในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง = 0.270* Zแรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว

+ 0.167* Zปัจจัยเอื้อจากสื่อ+ 0.154* Zเพศ

ดังนั้น บุคลากรสาธารณสุขควรกระตุ้นให้ผู้ป่วยมีการรับรู้ภาวะสุขภาพที่ดี ส่งเสริมให้บุคคลในครอบครัว

เพื่อน และชุมชน มีส่วนร่วมในการดูผู้ป่วย และเพิ่มการเข้าถึงปัจจัยเอื้อจากสื่อ

Downloads