ความเครียดและความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการติดเตียง

ผู้แต่ง

  • ขวัญตา บุญวาศ
  • ธิดารัตน์ สุภานันท์
  • อรุณี ชุนหบดี
  • นิมัศตูรา แว

คำสำคัญ:

ความเครียด, ความต้องการ, ผู้ดูแลผู้พิการ, ผู้พิการติดเตียง

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเครียด และความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการ
ติดเตียง ในพื้นที่จังหวัดตรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้พิการติดเตียงซึ่งมีความพิการ (Rankin Scale) ระดับ 5
ตามแบบวัดของ Rankin จำนวน 50 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัด
ความเครียดของผู้ดูแล และแบบสัมภาษณ์ความต้องการของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ
การสังเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า
1. ผู้ดูแลผู้พิการที่นอนติดเตียงที่บ้าน ในจังหวัดตรัง มีความเครียดในระดับสูง (M=9.04, SD=2.87)
โดยมีระดับความเครียดมากที่สุด ได้แก่ ด้านการปรับตัวของคนในครอบครัว รองลงมา คือ ด้านการต้องเปลี่ยน
แผนการทำงาน การไม่มีเวลาทำอย่างอื่น และการที่ผู้พิการไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ตามลำดับ และส่วน
ระดับความเครียดน้อยที่สุด คือ ความไม่สะดวกในการดูแลผู้พิการ
2. ความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการที่นอนติดเตียง ในจังหวัดตรัง ได้แก่ 1) ต้องการความรู้ คำแนะนำใน
การดูแลผู้พิการ 2) ต้องการญาติ หรือเพื่อนบ้านมาแบ่งเบาภาระในการดูแล 3) ต้องการรายได้ หรือเงินช่วยเหลือ
4) ต้องการให้มีเจ้าหน้าที่มาเยี่ยมบ้าน และต้องการความช่วยเหลือจากหน่วยงานในท้องถิ่น
บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความสำคัญกับความเครียด และความต้องการของผู้ดูแลผู้พิการที่นอน
ติดเตียง โดยการรับฟังปัญหาด้วยความเข้าใจ การให้ความรู้ และคำแนะนำในการดูแลที่ถูกต้อง การจัดสิ่งสนับสนุน
ตอบสนองความต้องการ และการป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการดูแล
คำสำคัญ: ความเครียด, ความต้องการ, ผู้ดูแลผู้พิการ, ผู้พิการติดเตียง

Downloads