ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวต่อพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น: การศึกษาเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • ติชิลา แสงแก้ว
  • อรวรรณ หนูแก้ว
  • วันดี สุทธรังษี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าว, พฤติกรรมก้าวร้าว, เด็กสมาธิสั้น

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา และทดสอบ
ผลของโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กที่ได้รับการวินิจฉัย
โรคสมาธิสั้น อายุ 9-11 ปี ได้รับการรักษาด้วยยา และฝึกอบรมพ่อแม่ คัดเลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน
30 คน เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป 2) แบบประเมิน SNAP-IV (อาการดื้อต่อต้าน)
3) แบบสังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว และ 4) โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมตามแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคม
ของแบนดูรา ประกอบด้วยกิจกรรม 4 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ที่คลินิกสุขภาพใจเด็ก โรงพยาบาล
สงขลา เครื่องมือนี้ผ่านการตรวจสอบความตรงโดยเนื้อหา จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบประเมิน SNAP-IV
(ด้านอาการดื้อต่อต้าน) ตรวจสอบความเที่ยง โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .82 ส่วนแบบ
สังเกตพฤติกรรมก้าวร้าว ตรวจสอบความเที่ยงโดย Inter-Rater เท่ากับร้อยละ 96.6 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ
พรรณนาและสถิติ Paired t-test ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่ค่าเฉลี่ยคะแนนดื้อต่อต้านรายข้อ/พฤติกรรมก้าวร้าว
รายด้าน มีค่าลดลงหลังจากได้รับโปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรม
ด้านอาการดื้อต่อต้าน และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมก้าวร้าวของกลุ่มตัวอย่าง หลังจากได้รับโปรแกรมฯ ลดลง
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=6.58, p=.000; t=10.24, p=.000) ตามลำดับ
ดังนั้น โปรแกรมการจัดการพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็กสมาธิสั้น สามารถลดพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก
สมาธิสั้นได้

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย