การพัฒนาศักยภาพของนักจิตวิทยา ในการดำเนินงานร่วมกับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิ

ผู้แต่ง

  • อติญาณ์ ศรเกษตริน
  • รุ่งนภา จันทรา
  • ดาราวรรณ รองเมือง
  • อำนวย ธัญรัตน์ศรีสกุล
  • สุทธานันท์ กัลกะ
  • ชาลีมาศ ตันสุเทพวีรวงศ์
  • วชิระบูลย์ อินสว่าง

คำสำคัญ:

นักจิตวิทยา, ทีมหมอครอบครัว

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักจิตวิทยา ในการดำเนินงานร่วม กับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิ โดยมีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักจิตวิทยาที่ปฏิบัติงานในระบบบริการ ปฐมภูมิจำนวน 93 คน ดำเนินการและเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การวางแผน 2) การปฏิบัติ 3) การสังเกต และ 4) ขั้นการสะท้อนผล รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 1) ข้อมูลทั่วไป 2) การรับรู้บทบาทของ นักจิตวิทยาในการทำงานร่วมกับทีมหมอครอบครัว ในบริการระดับปฐมภูมิ และ 3) สมรรถนะในการทำงานร่วม กับทีมหมอครอบครัว ในบริการระดับปฐมภูมิ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาศักยภาพของนักจิตวิทยา ในการดำเนินงานร่วมกับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิ ประกอบด้วย 1. การวางแผน พัฒนาศักยภาพของนักจิตวิทยาโดยการจัดอบรม ศึกษาดูงานและสร้างคู่มือการดำเนินงาน 2. การปฏิบัติ โดยการจัดกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติ การเข้าค่ายกิจกรรมและค่ายความรู้ ศึกษาดูงานในพื้นที่ ต้นแบบ และให้คู่มือการดำเนินงาน 3. การสังเกตการเปลี่ยนแปลง พบว่า ร้อยละของนักจิตวิทยาที่เข้าร่วมโครงการการ เตรียมความพร้อมของ นักจิตวิทยาเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิ มีการรับรู้บทบาทของ นักจิตวิทยาในการทำงานร่วมกับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ (ร้อยละ 95.18 ร้อยละ 78.49) และมีสมรรถนะในการทำงานร่วมกับทีมหมอครอบครัวในบริการระดับปฐมภูมิ สูงกว่าก่อนการเข้าร่วมโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. ขั้นการสะท้อนผล พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้เป็นแนวทางพัฒนา ศักยภาพของนักจิตวิทยาได้และคู่มือการดำเนินงาน สามารถนำไปใช้เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานได้

Downloads