ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อ พฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังชุมชนโพหวาย ตำบลบางกุ้ง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

ผู้แต่ง

  • นวลนิตย์ ไชยเพชร
  • อุดมศิลป์ แก้วกล่ำ
  • สิทธิพงษ์ สอนรัตน์
  • ยุวดี วิทยพันธ์

คำสำคัญ:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, กลุ่มเสี่ยง

บทคัดย่อ

 การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ของกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์การคัดเข้า โดยเป็นกลุ่มเสี่ยง โรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่เข้ามารับบริการ ณ ศูนย์สุภาพชุมชนเมืองโพหวาย จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 30 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ใช้ระยะเวลาใน การทดลอง 1 เดือน กลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพ และแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 4 ด้าน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค ความคาดหวังในความสามารถของ ตนเองต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันโรค ความคาดหวังในผลดีของพฤติกรรมป้องกันโรค วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon Signed-Rank Test และ Mann-Whitney U Test ผลการวิจัยพบว่า

  1. กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานของคะแนนการรับรู้ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง การรับรู้โอกาสเสี่ยง ของการเกิดโรค ความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการมีพฤติกรรมการป้องกันโรค ความคาดหวังใน ผลดีของพฤติกรรมป้องกันโรค และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่า ก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05
  2. หลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานของคะแนน การรับรู้ ความรุนแรงของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<.05

Downloads