ผลของสมาธิบำบัด SKT ในการลดระดับความดันโลหิต ของผู้ที่มารับบริการ โรงพยาบาลสิเกา จังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • อรอุมา ปัญญโชติกุล
  • สุธินา เศษคง
  • สุขุมาภรณ์ ศรีวิศิษฐ

คำสำคัญ:

สมาธิบำบัด SKT, การลดระดับความดันโลหิต, ผู้ที่มารับบริการโรงพยาบาลสิเกา

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการให้บริการ และเปรียบเทียบความ คิดเห็น และความดันโลหิตก่อน และหลังการฝึกสมาธิบำบัด SKT ของผู้รับบริการที่เป็นโรค และมีความดัน โลหิตสูง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้รับบริการ ที่เป็นโรคและมีความดันโลหิตสูง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ ใช้ คือ การฝึกสมาธิบำบัดแบบ SKT แบบสอบถามความพึ่งพอใจ และแบบสอบถามสมาชิกบำบัด ที่ผ่านการ ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ได้ค่า IOC ระหว่าง .66-1.00 ได้ค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .83 และ .88 ตามลำดับ ระหว่าง เดือนมีนาคม-เมษายน 2559 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยง เบนมาตรฐาน และ Paired Sample t-test ผลการศึกษาพบว่า

1. กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการให้บริการในภาพรวม ระดับมากที่สุด (M=4.46, SD=0.59)

2. ความคิดเห็นในการทำสมาธิบำบัด ในภาพรวมก่อนการทดลอง อยู่ในระดับน้อย (M=2.43, SD=1.09) และหลังการทดลอง อยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.59, SD=0.69) ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ (p-value<0.05) ความดันโลหิตหลังการทำสมาธิบำบัดมีระดับความดันโลหิตต่ำกว่าก่อนการทำสมาธิ บำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<0.05)

ผลการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในกลุ่มบุคคลที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มบุคคลโดยทั่วไป สามารถยนำสมาธิบำบัดไปประยุกต์ใช้ที่บ้านได้ 

Downloads