การวางแผนสืบทอดตำแหน่งและความต้องการการเตรียมเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการภาคใต้

ผู้แต่ง

  • ไสโตง สะรี หัวหน้างานแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลกรุงเทพหาดใหญ่
  • เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย รองศาสตราจารย์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • ปราโมทย์ ทองสุข อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร

คำสำคัญ:

การวางแผนสืบทอดตำแหน่ง, หัวหน้าพยาบาล, พยาบาลวิชาชีพ, กรุงเทพดุสิตเวชการ, Position Succession Plan, Head Nurses, Registered Nurses, Bangkok Dusit Medical Services

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งหัวหน้างานและความต้องการการเตรียมการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างานตามการรับรู้ของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลเอกชนเครือบริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการภาคใต้ เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง คือพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์การทำงาน ตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 169 คน โดยใช้ตารางสำเร็จรูปเครซี่ และมอร์แกน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนามาจากแนวคิดกระบวนการสืบทอดตำแหน่งของกริฟฟิธ กับโซเมสส์และยิลจิริน แบบสอบถามมี 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) ข้อมูลทั่วไป 2) การรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งหัวหน้างาน และ 3) ความต้องการการเตรียมการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ .86 แบบสอบถามส่วนที่ 2 ได้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) เท่ากับ .96 และแบบสอบถามส่วนที่ 3 ได้ค่า KR-20 เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 

1.  การรับรู้การวางแผนสืบทอดตำแหน่งหัวหน้างานของพยาบาลวิชาชีพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.07, SD=0.55) ด้านที ่มีคะแนนเฉลี ่ยอยู่ในระดับมากมี 3 ด้าน คือ ด้านการระบุตำแหน่งและคุณสมบัติ (M=3.28, SD=0.49) ด้านการสรรหาและคัดเลือกผู้สืบทอดตำแหน่ง (M=3.06, SD=0.66) และด้านการนิเทศ การติดตาม และการประเมินผลผู้สืบทอดตำแหน่ง (M=2.95, SD=0.69) ส่วนด้านแนวทางการพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่งหัวหน้างาน มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.95, SD=0.96)

2. พยาบาลวิชาชีพต้องการการเตรียมการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ร้อยละ 47.9 ส่วนวิธี การที่ต้องการให้โรงพยาบาลมีการเตรียมพยาบาลเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างานมากที่สุด 3 อันดับแรก คือการมีระบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ ร้อยละ 90.4 การมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำและคำปรึกษา ร้อยละ 82.7 และการมีคู่มือในการเตรียมการเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งหัวหน้างาน ร้อยละ 82.1 อย่างไรก็ตาม พยาบาลวิชาชีพมีความต้องการพัฒนาตนเองด้านการพยาบาลเฉพาะทางด้านคลินิก ร้อยละ 63.4 มากกว่า ด้านการบริหารการพยาบาล ร้อยละ 35.1

ผลการวิจัยที่ได้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริหารทางการพยาบาลใช้ข้อมูลในการวางแผนพัฒนา พยาบาลวิชาชีพโดยเฉพาะด้านการบริหารทางการพยาบาล และหาแนวทางพัฒนาผู้สืบทอดตำแหน่ง หัวหน้างานหรือผู้บริหารทางการพยาบาลต่อไป

 

The Position Succession Plan and the Preparation Needs in order to Become a Head Nurse: the Perception of the Registered Nurses on Duty at Bangkok Dusit Medical Services, Southern Thailand

The purposes of this descriptive research were to investigate the perception of registered nurses in terms of: a) the position succession plan for being a head nurse, and b) the needs for preparation to enter the head nurse position. Research was conducted into the private hospitals that are subsidiaries of the Bangkok Dusit Medical Services (BDMS) in Southern Thailand. Samples were selected using a purposive sampling method with professional nurses having three years or more of working experience. The sample size was determined by using the Krejcie and Morgan’s table. The data were collected using a questionnaire developed from the concept of the position succession process by Griffith and Sonmez & Yilgirin consisting of three parts: 1) general data, 2) perception of the position of head nurse succession plan, and 3) needs for preparation to enter the head nurse position. The quality of the instrument was tested by analyzing the content validity index (CVI) giving a value of 0.86; the reliability of the perception of the position succession plan was analyzed yielding the Cronbach’s alpha coefficient of 0.96; and the KR- 20 reliability coefficient was 0.84. The data were analyzed with descriptive statistics: frequency, percentage, mean, and standard deviation

1. The overall level of perception of position succession plan of the nurses was a high level (M=3.07, SD=0.55). When considering the perception of each dimension of the position succession plan, it was found that the score regarding the perception of position specifications and qualifications, the perception of the recruitment and selection process, and the perception of the coaching and follow up of the position succession plan were at a high level as well (M=3.28, SD=0.49; M=3.06, SD=0.66; and M= 3.07, SD=0.55, respectively). However, the score regarding the perception of the position succession development plan was at a moderate level (M=2.95, SD=0.69).

2. Among 47.9% of the registered nurses, wanted to prepare to enter the position of head nurse. The three most common methods of development of the succession plan were feedback system (90.4%), coaching and consulting (82.7%), and providing manual for the preparation (82.1%). However, in BDMS (southern Thailand private medical service) nurses would rather to become specialist nurses (63.4%) than to become administrative nurses (35.1%).

The results of this research provide basic information that nursing administrators can develop an effective position succession plan, especially for nurses who want to enter nursing administrative positions in the future.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-03-11